อาการ ขาดสารอาหาร ส่งผลเสียอย่างไร ?
เด็กที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโต ก็ควรที่จะได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีน(Protein) และพลังงานสารอาหาร (Energy) ที่ใช้ในการเจริญเติบโตและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่างๆ ดังนั้นเรื่องอาหารจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ ที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะ “ขาดสาร อาหาร” ตามมาได้
ภาวะของ “ขาดสารอาหาร” คืออะไร
ภาวะขาดสาร อาหารหมายถึงภาวะที่ร่างกายขาดสารที่ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เติบโตและแข็งแรงและสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย เมื่อเด็กเกิดภาวะขาดสาร อาหารก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโต เนื่องจากร่างกายจะไม่สามารถดึงดูดสารอาหารที่สำคัญไปใช้ได้ โดยมักพบในทารกและเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและร่างกายกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
และเมื่อร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบทำให้เด็กมีน้ำหนักน้อยลง ตัวเล็กกว่าปกติ ภูมิต้านทานโรคต่ำ ทำให้เกิดโรค หรือเกิดการติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น และนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสมอง สติปัญญา และการเรียนรู้อีกด้วย
เช็กด่วน 10 สัญญาณเตือน! ว่าลูกอยู่ในภาวะขาดสาร อาหารหรือไม่
1. มีอาการซึมเศร้า ไม่ร่าเริง
2. น้ำหนักน้อยกว่าปกติ
3. รู้สึกกระสับกระส่าย ไฮเปอร์อยู่ตลอดเวลา
4. มีอาการตาเหลือง
5. มีภาวะพูดช้า
6. ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
7. ผิวหนังแห้ง
8. มีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผมบาง ผมขาดง่าย ไม่เเข็งแรง
9. รู้สึกเบื่ออาหาร
10. ผิวหนังเหี่ยวย่น ตาลึก แก้มตอบ
หากลูกๆ มีอาการเข้าข่ายโรคขาดสาดอาหารหรือมีการเจริญเติบโตผิดไปจากปกติ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษา เพื่อหาสาเหตุของโรคต่างๆ และรักษาได้ทันท่วงที
โรคขาดสาร อาหาร เป็นภาวะที่ร่างกายนั้นขาดสารอาหารไปเลี้ยงและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ กระดูกหยุดเจริญเติบโต หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลัก 5 หมู่ อย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
อาการของโรคขาดสาร อาหาร
อาการของโรคนี้ขึ้นอยู่กับว่าร่างกายขาดสาร อาหารชนิดใด ซึ่งอาการโดยทั่วไปที่อาจสังเกตได้ มีดังนี้
น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ผมร่วง เป็นเพราะว่าร่างกายกำลังขาดสาร อาหารประเภทไบโอติน โปรตีน หรือวิตามินซี ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยในเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไปจนถึงเส้นผม
ตัวซีด
ง่วง อ่อนเพลีย เกิดจากการทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีน เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนที่น้อยเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อถดถอย ไม่แข็งแรง หรืออาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ได้เช่นกัน
เวียนศีรษะ
มีความอยากอาหารที่ผิดปกติ
มีปัญหาในการย่อยอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูก
ประจำเดือนมาไม่ปกติ
รู้สึกเสียวหรือชาที่ข้อต่อ
ไม่มีสมาธิ วอกแวกง่าย เป็นเพราะขาดสา รอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เช่น กาบ้า โอเมก้า 3 โพรไบโอติก วิตามินบี เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่ครบถ้วน จึงส่งผลให้ไม่มีสมาธิ และวอกแวกได้ง่าย
หดหู่ ซึมเศร้า
มีปัญหาด้านการหายใจ
ใจสั่น
เป็นลมหมดสติ
ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยง่าย ป่วยแล้วหายช้ากว่าปกติ
ผู้ป่วยเด็กอาจเจริญเติบโตช้า หรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ เมื่อเวลาผ่านเลยไป ผู้ป่วยบางรายอาจเคยชินกับอาการของโรคนี้จนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ และไม่ได้เข้ารับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม หรือทันท่วงที ดังนั้น หากมีอาการดังข้างต้น โดยเฉพาะอาการอ่อนเพลียหรือไม่มีสมาธิจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ เป็นเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจร่างกายจากแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้
สาเหตุของโรคขาดสาร อาหาร
โรคขาดสาร อาหารอาจเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ไม่เต็มที่ หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ดังนี้
ปัจจัยทางด้านสุขภาพ
พฤติกรรมของการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ เช่น โรคคลั่งผอม เป็นต้น
ปัญหาทางจิตใจ โดยอาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท ซึ่งอาจส่งผลต่ออารมณ์และทำให้ความอยากอาหารลดลง
อาการป่วยที่อาจทำให้ความอยากอาหารลดลง เช่น อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น
โรคหรือภาวะที่ส่งผลต่ออาการดูดซึมและระบบการย่อยอาหารของร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุบางชนิด เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคเซลิแอค ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้ไม่สมดุล โรคโครห์น หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดมีแผล เป็นต้น
การตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ต้องถ่ายโอนธาตุเหล็กไปเลี้ยงทารกในครรภ์
การผ่าตัดลดความอ้วน ซึ่งเป็นการผ่าตัดทำให้ขนาดของกระเพาะอาหารเล็กลง เพื่อให้น้ำหนักตัวลดลง
ภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยลืมรับประทานอาหาร
โรคที่ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนไหวลดลง ซึ่งทำให้การทำอาหารเองหรือการออกไปซื้ออาหารกลายเป็นเรื่องลำบาก
สภาพร่างกาย เช่น มีฟันอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ หรือใส่เครื่องมือจัดฟันที่ไม่พอดีกับปาก ซึ่งอาจทำให้การรับประทานอาหารเป็นเรื่องยากและอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวด เป็นต้น
การใช้ยาบางชนิด ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงกับร่างกาย เช่น ท้องเสีย หรืออาเจียน เป็นต้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารลดลง หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
การดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติด
ปัจจัยอื่น ๆ
บางคนหรือบางกลุ่มอาจต้องอดอาหารด้วยเหตุผลบางประการ เช่น
มีฐานะยากจน หรืออยู่ในพื้นที่แร้นแค้นขาดแคลนอาหาร
อาศัยอยู่เพียงลำพัง หรือปลีกตัวออกจากสังคมภายนอก
มีความรู้ในเรื่องการทำอาหารหรือโภชนาการค่อนข้างจำกัด
นอกจากนี้แล้ว คนที่มีปัญหาสุขภาพหรือภาวะสุขภาพบางอย่างอาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสาร อาหารได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ผู้ที่ร่างกายต้องการพลังงานมากเป็นพิเศษ ผู้ที่มีแผลบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกไฟไหม้ และผู้สูงอายุ เป็นต้น
การวินิจฉัยของโรคขาดสาร อาหาร
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจซักประวัติผู้ป่วย สอบถามเกี่ยวกับอาการป่วย และประเมินภาวะโภชนาการโดยสอบถามเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน และนิสัยการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ แพทย์อาจสอบถามด้วยว่าผู้ป่วยมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือมีเลือดปนในอุจจาระหรือไม่ จากนั้นอาจให้ตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของระดับสารเคมีในเลือด และตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ซึ่งช่วยตรวจหาภาวะโลหิตจางด้วยเช่นกัน
การรักษาโรคของขาดสารอาหาร
การรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย สารอาหารที่ร่างกายขาด และความรุนแรงของโรค ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปอาจทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ให้แคลอรี่จำนวนมากแก่ร่างกาย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้าพบนักโภชนาการด้วย เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
การรับประทานอาหารเสริม
ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานอาหารเสริมร่วมกับวิตามินอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารเสริมที่รับประทานเข้าไปก่อนหน้าได้ ซึ่งระยะเวลาและปริมาณในการรับประทานอาหารเสริมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการป่วย
การให้สารอาหารผ่านทางสายยาง
แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับอาหารทางสายยางเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดไป โดยวิธีนี้อาจใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ซึ่งอาจทำได้โดยสอดสายยางผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร หรือสอดสายยางผ่านผิวหนังบริเวณกระเพาะอาหารเข้าไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง นอกจากนี้ อาจให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำได้เช่นกัน
การดูแลที่ต้องการเป็นพิเศษ
ผู้ป่วยที่มีภาวะของอาการขาดสารอาหารจากโรคบางชนิดอาจมีปัญหาในการเคลื่อนไหวร่างกายร่วมในอาการด้วย ซึ่งต้องการการดูแลเป็นพิเศษจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญอย่างนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งจะทำให้เห็นถึงปัญหาในการรับประทานอาหารโดยสังเกตจากกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยเอง โดยผู้เชี่ยวชาญจะคอยแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาให้ รวมทั้งแนะนำวิธีออกกำลังกายแก่ผู้ป่วย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการกลืนอาหาร และสอนให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร โดยคนใกล้ชิดอาจช่วยซื้ออาหาร ส่งอาหาร หรือทำอาหารให้ผู้ป่วยด้วย
การรักษาของอาการหรือโรคต้นเหตุ
หากโรคขาดสาร อาหารเกิดจากการเจ็บป่วยใด ๆ แพทย์จะรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงวางแผนรักษาโรคที่เป็นสาเหตุด้วย
หลังได้รับการรักษา แพทย์อาจตรวจพิเศษเพิ่มเติมให้ผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อดูว่าการรักษาได้ผลหรือไม่ จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ป่วยหายขาดจากโรคขาดสาร อาหารแล้ว
ภาวะแทรกซ้อนของโรคขาดสาร อาหาร
หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดอาการความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจได้ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง แผลหายช้า การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันบกพร่องและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคต่าง ๆ คุณภาพชีวิตต่ำลง สุขภาพแย่ลงกว่าเดิมมาก มีปัญหาด้านการใช้ชีวิตในสังคม มีสภาพจิตใจไม่ปกติ กระบวนการทางความคิดมีประสิทธิภาพลดลง หรือต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงจนทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายโรคนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างถูกต้อง
การป้องกันของโรคขาดสาร อาหาร
วิธีทางที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยป้องกันภาวะการขาดสาร อาหารได้ คือ การรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนและครบถ้วนตามหลักโภชนาการ โดยเน้นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงอย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี และรับประทานอาหารจำพวกแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย