โรคไบโพลาร์ โรคจิตเวช ที่พบบ่อย 2022 ไม่น่ากลัว แค่เข้าใจ

SongKhao-โรคไบโพลาร์-ปก

        กลับมาพบกันอีกครั้ง กับบทความ “สุขภาพ” ที่สัปดาห์นี้ เราจะมาพูดถึง โรคไบโพลาร์ โรคจิตเวช ที่สามารถพบได้บ่อยในปี 2022 เลยก็ว่าได้ ซึ่งเจ้า โรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เป็นความผิดปกติของสารสื่อประสาท ภายในสมอง ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ มีอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง ทำให้ยากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมไปถึง การเข้าสังคมนั่นเองค่ะ

        จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น ฟังดูอาจจะน่ากลัว แต่ที่จริงแล้ว คนไทยส่วนมาก ยังมีความคิด หรือทัศนคติแบบผิด ๆ กับผู้ป่วย โรคจิตเวช จนอาจทำให้ผู้ป่วย ไม่กล้าเข้ารับการรักษา จนทำให้ผู้ป่วยนั้น ไม่สามารถเข้าสู่สังคมได้อีกต่อไป และยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง และทำความเข้าใจ ว่า  โรคไบโพลาร์ คืออะไร สาเหตุมาจากไหน รวมไปถึงวิธีการรักษา และการอยู่ร่วมกับผู้ป่วย โรคจิตเวช ที่ควรรู้ ถ้าหากคุณทำความเข้าใจ โรคจิตเวช ต่าง ๆ ก็ไม่น่ากลัวอีกต่อไป พบกับสาระ และความรู้รอบตัวดี ๆ ที่แอดมิน Songkhao อยากนำเสนอ ต่อผู้อ่านที่น่ารักทุกคน

โรคไบโพลาร์ คืออะไร

        โรคไบโพลาร์ ( Bipolar Disorder ) หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เป็น โรคจิตเวช อีกประเภทหนึ่ง ที่มีความผิดปกติ ทางอารมณ์ ซึ่งอารมณ์จะแปรปรวนไปมา ระหว่างอารมณ์ดีมากกว่าปกติ ( Mania ) และอารมณ์ ซึมเศร้า ( Depressive Episode ) โรคไบโพลาร์ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษา ให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิต และเข้าสังคมได้ดีขึ้น แต่หากคนรอบข้าง ขาดความเข้าใจ และไม่ให้กำลังใจ ทิ้งให้ผู้ป่วยเผชิญกับโรคเพียงลำพัง  ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง ถึงขั้นฆ่าตัวตายได้

        องค์การอนามัยโลก ( World Health Organization: WHO ) ระบุว่า โรคไบโพลาร์ หรือ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว มีดัชนีการสูญเสียด้านความพิการ อีกทั้งยังมีความเสี่ยง ที่ผู้ป่วยจะ ฆ่าตัวตาย มากกว่า โรคจิตเวช อื่น ๆ อีกด้วย และอัตราการพยายาม ฆ่าตัวตาย มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะ ซึมเศร้า ซึ่งต้องได้การบำบัด และรักษาจนกว่า จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

        โรคจิตเวช นั้นมีสิ่งที่ไม่เหมือนกับโรคอื่น ๆ ที่แพทย์ยังคงกังวลคือ โรคจิตเวช จะไม่มีอาการแสดงออก อย่างเห็นได้ชัด ไม่มีบาดแผลทางกาย แต่มีบาดแผล ที่เกิดขึ้นภายในใจผู้ป่วย ที่แพทย์เองก็ยากหยั่งถึง ผู้ป่วย โรคไบโพลาร์ จะสูญเสียการเป็นตัวเอง จนอาจมีอาการคุ้มคลั่ง และที่น่ากลัวที่สุดคือ ผู้ป่วยคิดทำร้ายตัวเอง จนไปถึงอาจ ฆ่าตัวตาย ได้

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การมอบความรัก และความเข้าใจ ของครอบครัว หรือคนใกล้ชิด เพื่อเติมเต็มความรัก เพราะสำหรับผู้ป่วยแล้ว ความรัก และความเข้าใจ เป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ และมีความสุขได้ ไม่ต่างจากคนทั่วไป นี่คือสิ่งที่ผู้ป่วย ไบโพลาร์ ต้องการ

SongKhao-โรคไบโพลาร์-ประกอบ3

อาการของ Bipolar Disorder

        อาการของ โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว นั้นแบ่งออกเป็น 2 อาการ คือ อารมณ์ดีมากกว่าปกติ ( Mania ) และอารมณ์ ซึมเศร้า ( Depressive Episode )

        1. อารมณ์ ซึมเศร้า ( Depressive Episode )

  • มีอาการ ซึมเศร้า อย่างเห็นได้ชัด เบื่ออาหาร มองโรคในแง่ลบ ไม่มีสมาธิ ท้อแท้ในชีวิต รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีแรงจูงใจ ในการใช้ชีวิต อาจรุนแรงถึงขั้น ฆ่าตัวตาย

         2. อารมณ์ดีมากกว่าปกติ ( Mania Episode )

  • ช่างพูดช่างคุย พูดไม่หยุด พูดเร็วกว่าปกติ ไม่มีเหตุผล ไม่รู้สึกง่วง ตื่นตัวตลอดเวลา ฟุ่มเฟือย ฉุนเฉียวง่ายหากโดนขัดใจ มีความก้าวร้าวกว่าปกติ ทำหลายอย่างพร้อมกัน

        อาการของผู้ป่วย Bipolar Disorder อาจเกิดขึ้นเพียงช่วงหนึ่ง หรืออาจจะอยู่ในระยะยาว และก็หายไป และหลังจากนั้น ก็สลับขั้วอารมณ์ ซึ่งไม่มีอะไรที่สามารถ การันตีตายตัว ว่าจะมีอารมณ์ดีกว่าปกติ หรือ ซึมเศร้า ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ป่วย โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ก็ต้องการความเอาใจใส่ และปฏิบัติตัวกับผู้ป่วย ด้วยความรัก เช่นเดียวกับคนทั่วไป ซึ่งคนรอบขางผู้ป่วย ต้องหมั่นสังเกตอยู่เสมอ

สาเหตุของ Bipolar Disorder

       จากการศึกษา และวิจัยผู้ป่วย Bipolar Disorder มีจำนวนมาถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากรทั่วไป สามารถพบได้บ่อยที่สุด ในช่วงอายุ 15-19 ปี และช่วงอายุ 20-24 ปี ซึ่งส่วนมากกว่า 50% มีอาการครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปี และหากมีคนในครอบครัว มีประวัติการเกิดโรคนี้ มีความเสี่ยงสูง ที่จะเป็น ไบโพลาร์ ได้มากกว่าคนปกติ ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันนั้น ทำให้ประชากรมีความเครียดที่มากขึ้น จนทำให้เกิด โรคจิตเวช ต่าง ๆ ได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน ส่วนมาก สาเหตุที่ทำให้เป็น Bipolar Disorder สามารถแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

       ปัจจัยทางชีวภาพ

  • เกิดจากความผิดปกติสารสื่อประสาท เช่น สารนอร์อะดรีนาลีน ( Noradrenaline ), สารเซโรโทนิน ( Serotonin ), สารโดปามีน ( Dopamine )
  • ความผิดปกติ ของการหลั่งฮอร์โมน ( Hormone )
  • การทำงานของระบบประสาท ในส่วนการควบคุมอารมณ์ผิดปติ

        ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม

  • มีความเครียด กดดัน
  • ไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสังคมได้
  • ได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจ เช่น สูญเสียคนรัก การเจ็บป่วย เป็นต้น

     ปัจจัยทางพันธุศาสตร์

  • ปัจจุบัน ไม่มีการศึกษาที่แน่ชัดว่า Bipolar Disorder มีรูปแบบการถ่ายทอดพันธุกรรมแบบใด แต่ยังมีการศึกษาวิจัย เรื่องการถ่ายทอดของยีนส์อย่างต่อเนื่อง
SongKhao-โรคไบโพลาร์-ประกอบ1

Bipolar Disorder รักษาได้ แค่ต้องเข้าใจ

        การรักษา โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

        1. รักษาด้วยยา

  • ยากลุ่มลิเทียม ( Lithium Carbonate )

เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วย โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ในกลุ่มอาการ Mania และใช้รักษาภาวะ ซึมเศร้า ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแล และคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ก่อนที่จะได้รับยากลุ่มนี้ จำเป็นต้องได้รับการตรวจเลือด เพื่อหาระดับลิเทียมในเลือด   

  • ยารักษาอาการทางจิตเวช ( Antipsychotic )

ใช้รักษาผู้ป่วย ในขณะที่เป็น โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว เช่น โอแลนซาปีน ( Olanzapine ), อะริพิพราโซล ( Aripiprazole ), ริสเพอริโดน ( Risperidone ) เป็นต้น

  • ยาต้านเศร้า ( Antidepressant )

เป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ ซึมเศร้า เช่น ฟลูออกซิทีน ( Fluoxetine )

  • ยาคลายกังวล ( Anti-Anxiety )

เป็นยาที่ช่วยในการ คลายความวิตกกังวล ฟุ้งซ่าน และรักษาอาการ นอนไม่หลับ ได้ เช่น เบนโซไดอะซีปีน ( Benzodiazepines )

  • ยารักษาลมชัก

เป็นยาที่ใช้รักษา โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ระยะยาว แพทย์อาจะสั่งยารักษาลมชัก ควบคู่กับกลุ่มยาลิเทียม เช่น คาร์บามาซีปีน ( Carbamazepine ), ลาโมไตรจีน ( Lamotrigine )  

        2. รักษาด้วยการบำบัด  

        นอกจากการักษาด้วยยาแล้ว ผู้ปาวย โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว จะได้รับการบำบัดทางจิตใจ ( Psychotherapy ) เพื่อให้สามารถรับมือ กับอาการหากกำเริบได้ดีขึ้น นอกจากนี้ bipolar disorder ถือเป็นโรคเรื้อรัง และเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้สูง ประมาณ 70-90% คนรอบข้างจึงต้องหมั่นสังเกต คอยดูอาการผู้ป่วยอยู่เสมอ หากมีอาการกำเริบ จะได้รักษาทั้งทางร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย ได้ทันท่วงที

SongKhao-โรคไบโพลาร์-ประกอบ2

วิธีการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับผู้ป่วย Bipolar Disorder

       1. ทำความเข้าใจกับ โรคไบโพลาร์ โดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อหาทางรักษา และมีความเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น อย่างลืมว่า อาการที่ผู้ป่วยแสดงออกมานั้น เป็นเพราะความผิดปกติทางชีวภาพ และจิตใจ ผู้ป่วยไม่สามารถบังคับตัวเองได้

       2. สังเกตอาการเริ่มต้น ก่อนที่อาการของโรคจะกำเริบ

  • Early-Mania Episode หงุดหงิดง่าย มีภาวะนอนไม่หลับ พูดมากขึ้น อารมณ์กว่าปกติ
  • Early-Depressive Episode มีภาวะ ซึมเศร้า อยากตาย หรือทำร้ายตัวเอง รู้สึกไร้ค่า

       3. รับมือการพฤติกรรมของโรค ไม่ว่าจะเป็น การับฟัง พูดคุยด้วยความเข้าใจ และใช้คำพูดที่เหมาะสม ไม่กระตุ้นผู้ป่วยด้วยอารมณ์ เก็บของมีคม หรือสิ่งของ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายให้มิดชิด

       4. ต้องดูแลการรับประทานยา ตามคำสั่งแพทย์ของผู้ป่วยอย่างเคร่งครัด รวมไปถึงการสังเกตผลข้างเคียง ที่อาจเกิดจากการรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็น มีอาการลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด คอแห้ง มีน้ำลายไหลตลอดเวลา ง่วงซึม ตาพร่ามัว เป็นต้น

5. ช่วยควบคุมเรื่องการใช้จ่าย ในช่วง Mania Episode และพฤติกรรมที่ิ เสี่ยงต่ออันตราย ในช่วง Depressive Episode

6. เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ควรให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ และไม่ให้ผู้ป่วยหยุดยา ก่อนปรึกษาแพทย์

         ต้องบอกก่อนว่า ผู้ป่วย โรคไบโพลาร์ ไม่ได้มีความสามารถ ที่ด้อยกว่าคนปกติเลยแม้แต่น้อย แอดมิน Songkhao จึงมีความต้องการ ให้สังคม มองผู้ป่วย โรคไบโพลาร์ ไม่ต่างกับโรคอื่น ๆ ที่สามารถรักษาให้หาย ใช้ชีวิตประจำวันได้ และสามารถมีความสุขได้ เฉกเช่นคนทั่วไป ติดตามบทความ “สุขภาพ” ได้ในสัปดาห์หน้านะคะ ว่าจะมีอะไรที่น่าสนใจ และมีสาะความรู้อะไรอีกบ้าง ติดตามได้ในสัปดาห์หน้า ก่อนจากกัน ขอยกคำคม ไว้ให้ผู้อ่านที่น่ารักของเรา ได้มีีกำลังใจ ในการใช้ชีวิต ในวันต่อไปนะคะ สวัสดีค่ะ

“Your value doesn’t decrease based on someone’s inability to see your worth.”

คุณค่าของเราไม่เคยถูกลดลง คนบางคนแค่มองไม่เห็นมัน

― Audrey Hepburn

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , Pobpad 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *