9 คำถามเกี่ยวกับ โรคเอดส์ ที่หลายคนสงสัย
สวัสดีค่ะ กลับมาพบกับบทความ “สุขภาพ” กันอีกครั้ง กับ “10 คำถามเกี่ยวกับ โรคเอดส์ ที่หลายคนสงสัย” หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ โรคเอดส์ ไปแล้ว เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แน่นอนว่า หลายคนอาจจะมีคำถาม ในปลีกย่อย ๆ ออกไป เราจึงรวบรวมทุกคำถาม ที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์ เพื่อไขข้อสงสัย ให้คุณได้กระจ่าง และสามารถส่งต่อความรู้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุม การแพร่เชื้อ HIV ได้มากขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจ ที่ถูกต้อง แก่บุคคลที่ยังไม่ทราบอีกด้วย
1. โรคเอดส์ สามารถติดต่อได้จากทางไหนบ้าง?
ตอบ ช่องทางการติดเชื้อ HIV ที่สำคัญนั้น แบ่งออกเป็น 3 ทางคือ
1.1 การมี เพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่มีการป้องกัน ไม่ว่าจะเป็น ถุงยางอนามัย หรือแผ่นยางอนามัยนั่นเอง
1.2 การรับเชื้อ HIV ทางเลือด หรือสารคัดหลั่งของ ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ไม่ว่าจะเป็น การสัมผัสเลือดของ ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV โดยเชื้อไวรัส จะเข้าสู่ร่างกายคนรับเชื้อ ผ่านทางแผลเปิด หรือเนื้อเยื่ออ่อน เช่น เยื่อบุตา เป็นต้น
1.3 จากแม่สู่ลูก หรือจากการตั้งครรภ์ ของแม่ที่ติดเชื้อ
2. การอยู่ร่วมกับ ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เราจะเป็น โรคเอดส์ ด้วยหรือไม่?
ตอบ ต้องบอกก่อนเลยว่า
“ เชื้อไวรัส HIV ไม่สามารถแพร่เชื้อจากการสัมผัส น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย และปัสสาวะได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง การหายใจ, การกอดจูบ, การทานอาหารร่วมกัน หรือ ใช้ของร่วมกัน ”
ความเชื่อผิด ๆ นี้ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการ เลือกปฏิบัติ กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV มายาวนาน ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นสาเหตุที่มี ผู้ติดเชื้อไวรัส หลายคน ไม่กล้าเข้ารับการรักษา จนทำให้อาการของผู้ป่วยนั้น ทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงระยะที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระยะของ เอดส์เต็มขั้น นั่นเอง
3. เป็น โรคเอดส์ จากการทำ Oral sex ได้หรือไม่?
ตอบ “มีโอกาสการติดเชื้อค่อนข้างต่ำค่ะ ” เพราะหากภายในช่องปากมีบาดแผล ก็มีโอกาสที่จะสามารถติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่า จะมีโอกาสการติดเชื้อต่ำก็ตาม แต่ยังต้องพึงระวังเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน มีถุงยางอนามัย ที่มีทั้งรสชาติ และกลิ่น เพื่อเพิ่มอรรถรส ในการมีเพศสัมพันธ์ที่มากขึ้น ดังนั้น จึงควรใช้ ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีการสอดใส่ และทำ Oral sex
4. สวม ถุงยางอนามัย มีโอการติดเชื้อ HIV ได้มั๊ย?
ตอบ ถุงยางอนามัย ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้ 100% เพราะมีโอกาสที่ ถุงยางอนามัย จะรั่ว หลุด หรือแตกได้ นี่จึงเป็นเหตุผล ที่เรารณรงค์ให้ สังคมเลิกเลือกปฏิบัติกับ ผู้ติดเชื้อไวรัส และรณรงค์ ให้ ผู้ที่สงสัย หรือมีความเสี่ยงเป็น โรคเอดส์ เข้ารับการรักษาทันที เมื่อพบเชื้อ ซึ่งข้อมูลจาก กรมกรนามัยโลก ได้ระบุว่า 1 ใน 4 มี ผู้ติดเชื้อไวรัส มี เพศสัมพันธ์ กับคนอื่นโดยที่ไม่รู้ตัว
5. ตรวจหา โรคเอดส์ ฟรี มีหรือไม่?
ตอบ มีแน่นอนค่ะ ในสิทธิคนไทยทุกคน สามารถขอตรวจ โรคเอดส์ หรือหาเชื้อ HIV ได้ฟรี 2 ครั้ง/ปี สามารถใช้สิทธิตามบัตรประชาชน ได้ทุกโรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ ซึ่งการตรวจหาเชื้อ ก็มีทั้งแบบนิรนาม ( ไม่แจ้งชื่อ และที่อยู่ ) และการตรวจแบบรู้ผลภายในวันเดียว หากพบการติดเชื้อ จะอยู่ในถานะ ผู้ติดเชื้อ HIV และจะได้รับการรักษาทันที ทุกระดับ CD4 ดังนั้น ยิ่งตรวจเร็ว ก็ยิ่งสามารถรักษา ได้ผลดีขึ้น ทำให้ ผู้ติดเชื้อไวรัส มีอายุที่ยืนยาวขึ้น โอกาสการติดเชื้อฉวยโอกาส ก็น้อยลงเช่นกัน
6. ยา PrEP กับยา PEP คืออะไร?
ตอบ ยา PrEP และยา PEP เป็น ยาต้านไวรัส ทั้งคู่ แต่มีวิธี และวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป
1. ยาต้านไวรัส เพื่อป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อไวรัส (Pre-Exposure Prophylaxis; PrEP) เป็น ยาต้านไวรัส สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง ต่อการสัมผัสเชื้อสูง เช่น คู่นอนผลเลือดต่าง ชายที่มี เพศสัมพันธ์ กับชาย มีคู่นอนติดเชื้อโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ ภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกัน ก่อนที่จะเกิดการติดเชื้อ ต้องทา ยาต้านไวรัส ก่อนที่จะมีความเสี่ยง 1 สัปดาห์ เพื่อให้การป้องกันเชื้อของ ยาต้านไวรัส มีประสิทธิภาพมากที่สุด และที่สำคัญคือ ต้องใช้ ยาต้านไวรัส PrEP ร่วมกับ ถุงยางอนามัย
2. กินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันหลังการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (Post-Exposure Prophylaxis; PEP) เป็น ยาต้านไวรัส ใช้ป้องกันเชื้อไวรัส สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เข็มฉีดยาทิ่ม สัมผัส ผู้ติดเชื้อไวรัส จากการช่วยเหลือชีวิต ถุงยางอนามัย รั่ว แตก หรือหลุด รวมไปถึง การถูกล่วงละเมิดทางเพศ หากมีเหตุการณ์เหล่านี้ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที หรือภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากที่สัมผัสเชื้อ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ ที่ได้ประสิทธิภาพ
เพิ่มเติม* ยาต้านไวรัส เพื่อใช้ในการรักษา (Antiretroviral Drug; ARV) เป็น ยาต้านไวรัส ที่ใช้ในการรักษา เพื่อควบคุมปริมาณเชื้อไวรัสใน ผู้ติดเชื้อไวรัส และลดโอกาส การแพร่เชื้อไวรัส ไปสู่ผู้อื่นได้
7. การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โรคเอดส์ ที่ควรรู้?
ตอบ 1. บังคับตรวจ โรคเอดส์ ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขการทำงาน การรับบริการสุขภาพ ประกันชีวิต รวมไปถึง การอุปสมบท เช่นกัน
2. เปิดเผยของมูลของผู้ติดเชื้อสู่สาธารณะ หรือความประมาท ในการเก็บเอกสาร และข้อมูลหลุดออกเผยแพร่ สู่สาธารณะ
3. การเลือกปฏิบัติ กับผู้ติดเชื้อ
– เลือกปฏิเสธ หริอเลือกปฏิบัติ ผู้ติดเชื้อในการเข้ารับบริการ รักษาสุขภาพ เช่น ปฏิเสธการผ่าตัด เป็นต้น
– เลือกปฏิเสธผู้ที่ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อ ไม่ให้เข้าถึงบริการสาธารณะ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ประกันชีวิต รวมไปถึงกลุ่มสมาคมต่าง ๆ
– เลือกปฏิบัติ ที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียม จากสถานที่ทำงาน สถานศึกษา เช่น การเลิกจ้างงาน หรือให้ย้ายสถานศึกษา หรือย้ายแผนกสาขา
– เลือกปฏิบัติ กีดกัน หรือรังเกียจแบบเหมารวม ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน
– เลือกปฏิบัติและเกิดความไม่เท่าเทียม ทางกฎหมาย เช่น สิทธิการสมรส และการมีครอบครัว
8. วิธีการป้องกัน การติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ มีอะไรบ้าง?
ตอบ 1. งดมี เพศสัมพันธ์ ถือว่าเป็นวิธีการป้องกัน โรคิดต่อทาง เพศสัมพันธ์ ได้ดีที่สุด แต่แน่นอนว่า มนุษย์อย่างเรา ๆ นั้น ย่อมมีความต้องการทางเพศ และต้องการระบายควาต้องการนี้ สามารถแก้ปัญหาได้ด้วย การสำเร็จความใครด้วยตนเอง หรือที่เรียกว่า การช่วยตัวเอง ( Masturbation ) เพราะสาเหตุของการติดโรติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ พบได้มากกว่า 90% ที่ติดเชื้อจากการมี เพศสัมพันธ์ การงดมี เพศสัมพันธ์ จึงถือว่าเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด
2. ป้องกันโดยใส่ ถุงยางอนามัย ทุกครั้ง ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่คลาสสิก และง่ายที่สุด แต่ ถุงยางอนามัย ก็ไม่ได้เป็นวิธีการป้องกัน ที่ได้ผล 100% นัก แต่ก็มีโอกาสติดเชื้อไวรัสต่ำ หาก ถุงยางอนามัย ที่ใช้ในการป้องกันนั้น ได้รับมาตรฐานอย่างดี มีความคงทน ทนทาน และยืดหยุ่น และที่สำคัญคือ การใส่ไซส์ ถุงยางอนามัย ที่ถูกต้อง ไม่หลวม หรือแน่นเกินไป หากหลวมเกินไป ก็มีโอกาสหลุดได้ ในระหว่างที่ทำกิจกรรม หรือหากแน่นเกินไป ก็มีโอกาสที่จะฉีกขาด หรือรั่วได้เช่นกัน
3. หมั่นตรวจเลือดทุก 6 เดือน หรือใช้สิทธิตรวจฟรี ตามบัตรประชาชน 2 ครั้ง/ปี รวมไปถึง ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ด้วย เช่น โรคซิฟิลิส โรคเริม โรคหนองใน และอื่น ๆ เพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสุงสุด
9. U=U คืออะไร?
ตอบ U=U ( Undetectable = Untransmutable ) คือ การตรวจไม่เจอเชื้อแล้ว ทำให้ไม่สามารถแพร่เชื้อกับผู้อื่นได้ ผู้ติดเชื้อไวรัส การตรวจไม่เจอเชื้อนั้น ไม่ได้หมายความว่า เชื้อไวรัสไม่มีในร่างกายแล้ว เพียงแต่มีปริมาณเชื้อน้อยมาก จนชุดตรวจไม่อาจพบเชื้อได้ ส่วนมาก 90-95% พบปริมาณเชื้อไวรัสต่ำหว่า 50 Copies/ cc. เพรา ยาต้านเชื้อไวรัส จะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส หากมีการหยุดยา เชื้อก็จะกลับมาเพิ่มขึ้น ภายในระยะ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น ดังนั้น หากต้องการที่จะรักษา ให้อยู่ในระดับ U=U ต้องทานยาอย่างต่อเนื่องทุกวัน และมีการตรวจปริมาณเชื้อ ตามที่แพทย์นัดตรวจทุกปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค , ศูนย์วิจัย โรคเอดส์ สภากาชาดไทย , มูลนิธิเพื่อรัก