โรคเอดส์ ( AIDs ) ไม่น่ากลัวเท่าที่คิด โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ ที่รักษาได้แล้วในปัจจุบัน

Songkhao-โรคเอดส์-ปก

โรคเอดส์ ถือว่าเป็น โรคร้าย ที่สังคมเลือกปฏิบัติ กับผู้ป่วยโรคนี้มาก กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับ แอดมิน SongKhao ในบทความ “สุขภาพ” ที่ผู้อ่านที่น่ารักของเรา ตั้งหน้าตั้งตารออ่านอยู่ใช่มั๊ยล่ะค่ะ? วันนี้ แอดมิน Songkhao ขอนำเสนอ โรคที่หลาย ๆ คนต้องรู้จักอย่างแน่นอน นั่นก็คือ โรคเอดส์ หรือ AIDs นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็น โรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ ที่หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจ หรือมีความเชื่อ ความเข้าใจแบบผิด ๆ ที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์  AIDs อยู่ ที่อาจจะเป็นความเชื่อ หรือความคิด ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ที่หลายคนอาจมองว่า ผู้ที่ติดเชื้อนั้น จะเป็นที่รังเกียจของสังคม และมีการเลือกปฏิบัติ กับคนที่ติดเชื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้น เกิดความกลัว ที่จะเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง จนอาจทำให้ความสูญเสียได้ในที่สุด วันนี้เราจะมาทำความรู้จัก ทำความเข้าใจ กับโรคนี้กันค่ะ ตามมาดูกันเลย

โรคเอดส์ คืออะไร       

         โรคเอดส์ หรือ โรค ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง และมีชื่อเรียก ในภาษาอังกฤษว่า  AIDs ( Acquired Immunodeficiency Syndrome ) เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  โรคเอดส์ เป็นอาการระยะสุดท้าย ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ( Human Immunodeficiency Virus ) ซึ่งตัวไวรัสนี้ จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิด CD4 ทำให้ผู้ป่วยนั้น มีค่า CD4 ที่ลดลง ทำให้ ภูมิคุ้มกัน ในร่างกายของผู้ป่วย ถูกทำลาย และอาจเสี่ยงต่อการเกิด โรคแทรกซ้อน ที่เรียกว่า “ โรคติดเชื้อฉวยโอกาส” ได้ง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น วัณโรค ( Tuberculosis ) ปอดบวม ( Pneumonia ) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ( Meningitis ) หรือเป็นมะเร็ง ( Cancer ) จนเป็นสาเหตุ ให้ผู้ป่วย AIDs เสียชีวิตได้

        ข้อมูลจาก กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทาง เพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2564 ผู้ติดเชื้อ HIV ที่ยังมีชีวิตอยู่มีจำนวน 493,859 คน เป็นผู้ติดเชื้อ HIV รายใหม่จำนวน 5,800 คน ( เฉลี่ย 16/วัน ) และมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ HIV อยู่ที่ 11,214 คน/ปี หรือเฉลี่ยที่ 31 คน/ วัน นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า ผู้ป่วยที่กำลังรับยาต้านไวรัส มีจำนวน 394,598 คน คิดเป็น 79.90% และยังมีผู้ที่ไม่ได้เข้ารับการรักษา 20.10% ถึงแม้ว่า จะมีผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไม่ได้เข้ารับการรักษาเพียง 20.1% ก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องน่ากังวลมากเช่นกัน เพราะอาจทำให้อายุขัยของผู้ป่วยลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถแพร่เชื้อ ไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย   

Songkhao-โรคเอดส์-ประกอบ2

สาเหตุของการเกิด โรคเอดส์

        สาเหตุของการเกิดโรคนั้น เกิดจากการติดเชื้อ HIV ( Human Immunodeficiency Virus ) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส ที่ก่อให้เกิด โรค ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง และไม่ได้รับการรักษา จนอาการทรุดลงไปถึง ระยะที่ 3 ซึ่งนั่นคือระยะที่เรียกว่า AIDs และทำให้เกิด โรคในระยะสุดท้าย ได้ในที่สุดนั่นเอง โดย โรค ภูมิคุ้มกัน บกพร่อง สามารถติดต่อได้ผ่านทาง การสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็น เลือด น้ำเหลือง น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด เป็นต้น ผลวิจัยปัจจุบันพบว่า น้ำลาย เสมหะ เหงื่อ ปัสสาวะ อุจจาระ และน้ำนมนั้น มีปริมาณของเชื้อ HIV ที่น้อยมาก น้อยเกินกว่าที่จะสามารถแพร่เชื้อได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับช่องทางการติดต่อ หรือการสัมผัสเชื้อ HIV ด้วยเช่นกัน โดยช่องทางการติดต่อที่สำคัญ ได้แก่

·      การมี เพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่ป้องกัน

        จากข้อมูลของ การระบาดวิทยาพบว่า มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อ HIV ได้รับเชื้อจากการมี เพศสัมพันธ์ โดยที่ไม่มีการป้องกัน หรือใส่ ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นการมี เพศสัมพันธ์ ทั้งทางช่องคลอด และ เพศสัมพันธ์ ทางทวาร ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน

Songkhao-โรคเอดส์-ประกอบ4

·      มีการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ HIV

        การสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยที่มีการสัมผัสผ่านแผลเปิด หรือแผลถลอก ร่วมไปถึงกรใช้ของมีคมร่วมกัน กับผู้ติดเชื้อ โดยไม่ได้มีการทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็น มีดโกน มีครัว เข็มสัก เข็มเจาะหู เป็นต้น

·      ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV

        เป็นกลุ่มที่พบได้ยาก แต่ส่วนมากมักพบในกลุ่ม ผู้ฉีดสารเสพติด ร่วมกับผู้ติดเชื้อ

·      การติดต่อจากแม่สู่ลูก

        การติดต่อของ โรคเอดส์ ในกลุ่มนี้นั้น สามารถติดต่อได้ทั้ง ระหว่างการตั้งครรภ์ และหลังการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน เช่น จากการให้นมบุตร แต่ก็มีโอกาสเกิดการติด โรคเอดส์ ได้น้อยมากในปัจจุบัน

·      การรับโลหิตบริจาคที่มีเชื้อ HIV ปนเปื้อน

        การรับดลหิตบริจาค ที่มีเชื้อ AIDs ปนเปื้อนนั้น ถือว่าเป็นไปได้ยากมากในปัจจุบันนี้ เนื่องจาก โลหิตที่มีการบริจาคเข้ามาทุกถุง จะได้รับการตรวจหาเชื้อ HIV อย่างเข้มงวด เพื่อความปลอดภัย ของผู้ที่รับบริจาคโลหิต

·      คู่ผลเลือดต่าง

       คู่ผลเลือดต่าง คือคู่รักที่มีผลเลือดที่ต่างกัน นั่นก็คือ คู่รักระหว่างผู้ติดเชื้อ และผู้ที่ไม่ได้มีการติดเชื้อ กลุ่มนี้ ต้องอยู่ภายในการดูแลของแพทย์ เพื่อติดตามผลการรักษา และการแพร่เชื้ออย่างใกล้ชิด

Songkhao-โรคเอดส์-ประกอบ3

อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

        อาการของผู้ป่วยติดเชื้อ HIV นั้น สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ตามระยะเวลาการติดเชื้อ และความรุนแรงของ โรคเอดส์ ได้ดังนี้

         ระยะแรกเริ่มของการติดเชื้อ เป็นช่วงแรก หรือระยะแรกหลังจากมีการติดเชื้อ 2-12 สัปดาห์ ในระยะนี้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ จะมีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ ผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต และในบางราย อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว มีฝ้าขาวในช่องปาก และน้ำหนักลดอย่างเห็นได้ชัด ในระยะนี้ด้วยปริมาณเชื้อ ที่ค่อนข้างน้อย และยังไม่สามารถหา ภูมิคุ้มกัน เชื้อได้ในระยะนี้ 

        ระยะติดเชื้อไม่มีอาการ หรือที่เรียกว่า ระยะสงบ ผู้ติดเชื้อ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ปกติเหมือนคนทั่วไป ในระยะนี้ ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้แล้ว หรือที่เรียกว่า พาหะ ( Carrier ) สมารถติดต่อจากการมี เพศสัมพันธ์ แม้จะไม่มีอาการที่ชัดเจนในระยะยนี้ แต่เชื้อไวรัสก็มีการแบ่งเซลล์ และทำลายระบบ ภูมิคุ้มกัน จนจำนวน CD4 ของผู้ติดเชื้อลดลง ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อ 85% อยู่ในระยะนี้ได้นานถึง 5-10 ปี ผู้ติดเชื้อบางส่วน คิดเป็น 10% ที่อยู่ในระยะนี้เพียง 2-3 ปีเท่านั้น และมีผู้ติดเชื้อ 5% อยู่ในระยะถึง 10-15 ปีขึ้นไป 

        ระยะที่มีอาการ ระยะที่ 3 ที่เรียกว่า AIDs แบ่งออกตามความรุนแรงของ โรคเอดส์ ดังนี้

               มีอาการเล็กน้อย หรือระยะ AIDs ที่ 1 ระยะนี้จำนวน CD4 ของผู้ที่ติดเชื้อ มีจำนวนอยู่ที่มากกว่า 500 เซลล์/ลบ.มม. (cell / cumm.) มักมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต มีเชื้อราที่เล็บ มีแผลร้อนในในช่องปาก ผิวหนังอักเสบ เป็นต้น

               มีอาการปานกลาง หรือระยะ AIDs ที่ 2 ระยะนี้จำนวน CD4 ของผู้ที่ติดเชื้อ มีจำนวนอยู่ที่ 200-500 เซลล์/ลบ.มม. (cell / cumm.) มักมีอาการดังนี้ มีเริมที่ริมฝีปากหรืออวัยวะเพศ งูสวัด โรคเชื้อราในช่องปากหรือช่องคลอด ท้องเสียเรื้อรังเกิน 1 เดือน มีไข้นานเกิน 1 เดือน ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่งนานเกิน 3 เดือน เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ เป็นต้น น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ ปอดอักเสบ

              มีอาการรุนแรง หรือระยะ AIDs สุดท้าย หรือที่เรียกว่า AIDs เต็มขั้น นั่นเอง ในระยะนี้ ภูมิคุ้มกัน ของผู้ป่วยเสื่อมอย่างเต็มที่ จำนวน CD4 ต่ำกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม. (cell / cumm.)  เป็นภาวะที่เชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัวต่าง ๆ เข้ามาทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เรียกว่า โรคติดเชื้อฉกฉวย สามารถรักษาให้หายขากชดไม่ได้ เพราะโรคติดเชื้อฉกฉวยนั้น จะกำเริบซ้ำ ๆ อาการที่สามารถพบได้บ่อย คือ มีไข้เรื้อรัง ไอเรื้อรัง รูปร่างผอมแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย กลืนลำบาก มีการติดเชื้อราตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย  ตาพร่ามัว มีผื่นคันตามตัว เกร็ดเลือดต่ำ ความจำเสื่อม ซึม เป็นต้น        

Songkhao-โรคเอดส์-ประกอบ-ยา

การรักษา

        การรักษาผู้ป่วย โรคเอดส์ นั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้สามารถควบคุมเชื้อ และลดจำนวนเชื้อไวรัส จนอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ หรือที่เรียกว่า U=U  (Undetectable = Untransmutable ) แม้จะอยุ่ในภาวะ U=U แต่ผู้ติดเชื้อ ต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง ตามคำสั่งของแพทย์ และในปัจจุบันนี้ มีการวิจัยและพัฒนาการรักษาผู้ที่ติดเชื้อ เพื่อให้สามารถรักษาหายขาดได้ เช่น วัคซีนกระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ยากระตุ้นไวรัส เพื่อให้ยาต้านไวรัส ทำงานได้ประสิทธิภาพมากขึ้น

        ปัจจุบันตัวยาที่ใช้ในการรักษาโรค โดยการให้ยาต้านเชื้อไวรัส HIV จะใช้รวมกันตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป โดยตัวยา จะทำหน้าที่ในการยับยั้งการเจริญเติบโต ของเชื้อไวรัส ไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น

  1. nucleoside reverse transcriptase inhibitors (RTIs) เช่น D4T (Zerit) , 3TC (Epivir) , DDC (Hivid) , DDI ( Videx) , AZT (Retrovir)
  2. protease inhibitors (PIs) เช่น Indinavir (Crixivan), Nelfinavir (Viracept), Ritonavir (Norvir)
  3. non-nucleoside reverse transcriptase เช่น Nevirapine (Viramune) , Delavirdine (Rescriptor), Efavirenz (Sustiva)

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับบทความที่มอบความรู้ที่เกี่ยวกับ โรคเอดส์ ให้ผู้อ่านที่น่ารักของเราได้อ่าน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น การที่ผู้ติดเชื้อ อยู่ในฐานะ ” ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV ” นั้น เป็นสิ่งที่สังคมควรจะมอบกำลังใจให้ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV มีกำลังใจ และเข้ารักษาให้สามารถออกมาใช้ชีวิตปกติ เหมือนคนทั่วไปได้ และลดการเลือกปฏิบัติกับ ผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV เพราะเขาก็เป็นมนุษย์เช่นกัน สำหรับสัปดาห์หน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น ติดตามกันได้เลยนะคะ สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Siriraj. Mahidol University, Rama. Mahidol University

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *