รับมือ โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) ภัยเงียบ ที่หลายคนเป็นแล้วไม่รู้ตัว
โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia ซึ่งโรคนี้สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย การที่มี ภาวะนอนไม่หลับ หรือภาวะที่สมอง ไม่สามารถหยุดคิดได้ จนทำให้นอนไม่หลับนั้น ถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพ สำหรับใครหลาย ๆ คน จนอาจมีผลต่อสุขภาพ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการใช้ชีวิตประจำวันได้ เพราะการที่จะมีสุขภาพที่ดีนั้น ต้องมี การนอนหลับ หรือมีการพักผ่อนที่เพียงพอต่อวัน หรือ 8 ชั่วโมง เป็นต้นไป
โรคนอนไม่หลับ หรือ Insomnia นั้นเป็น ถือว่าเป็นปัญหา ที่สามารถทำให้เกิด ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็น โรคหอบหืด วิตกกังวล โรคภูมิแพ้ โรคความดันโลหิตสูง และโรคทางจิตเวช เช่น ภาวะเครียด เป็นต้น การที่เรารู้ตัวก่อน ที่จะกลายเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง วันนี้เรามาทำความรู้จัก สาเหตุ การสังเกตตัวเอง และวิธีการป้องกันกันเลย
โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) คืออะไร
โรคนอนไม่หลับ หรือมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Insomnia ซึ่งเป็นโรคที่ มีความผิดปกติ ที่เกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น การมี ภาวะนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หลับ ๆ ตื่น ๆ ตื่นขึ้นมากลางดึก วิตกกังวล ในกานนอนทุกครั้ง หรือตื่นเร็วกว่าที่ควร และไม่สามารนอนหลับต่อได้ ทั้งหมดนี้ คือความผิดปกติ ที่เกี่ยวกับ การนอนหลับ ที่ส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย และจิตใจ เพราะ 1 ใน 3 กิจกรรมในชีวิต คือ การนอนหลับ ซึ่ง รศ.นพ.ณัฐพงษ์ เจียมจริยธรรม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลว่า
“ ปัญหาทุกวันนี้ไม่ใช่เราไม่นอน แต่คือการนอนไม่หลับ ”
การที่มี ภาวะนอนไม่หลับ จึงส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล กดดัน และประสิทธิภาพ การใช้ชีวิตประจำวันลดลง อย่างเห็นได้ชัด จากข้อมูลในปี 2563 กรมสุขภาพจิต ระบุไว้ว่า คนไทยมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ และมี ภาวะนอนไม่หลับ แม้จะมีความง่วงมาก ๆ ก็ตาม ประมาณ 19 ล้านคน ส่วนมากมักเกิดกับผู้หญิงและผู้สูงอายุ ซึ่งกรมการแพทย์ ได้บัญญัติโรคนอนไม่หลับแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ตามระยะการเกิดโรค ดังนี้
· Adjustment Insomnia โรคนอนไม่หลับจากการปรับตัว
ผู้ป่วยในกลุ่นนี้ มักมี ภาวะนอนไม่หลับ แบบเฉียบพลันมีระยะน้อยกว่า 3 เดือน อาจเกิดมาจาก ภาวะเครียด วิตกกังวล มีความกดดัน การเจ็บป่วย รวมถึงการปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่ภาวะเหล่านี้ สามารถหาย และกลับไปนอนได้ตามปกติ เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นแล้วนั่นเอง
· Chronic Insomnia โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง
ผู้ป่วยในกลุ่ม หรือระยะนี้ จะมี ภาวะนอนไม่หลับ ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ และเป็นมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ซึง่ผู้ป่วยในระยะนี้ มักพยายามทำให้ตัวเองนอนหลับ โดยผลจากการศึกษาของ American Academy of Sleep Medicine ได้ระบุว่า ผู้ป่วยอาจไม่ได้มีเพียงแค่ปัญหาที่เกี่ยวกับ การนอนหลับ เพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับ การหายใจ ร่วมด้วย ซึ่งนั่นหมายถึง มีการทำงานของกล้ามเนื้อ ที่ผิดปกติในหว่าง การนอนหลับ ดังนั้นจึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้าน การนอนหลับ ร่วมทำการวินิจฉัยควบคู่ไปด้วย เพื่อการหาสาเหตุ และให้การรักษา ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็น โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia )
- หลับยาก ใช้เวลาใน การนอนหลับ มากกว่า 1 ชม.
- นอนหลับไม่สนิท มักตื่นกลางดึก
- อ่อนเพลีย
- ง่วงนอนในเวลากลางวัน ไม่สดชื่น
- ไม่มีสมาธิ ความจำแย่ลง
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- วิตกกังวล กดดัน มี ภาวะเครียด เกี่ยวกับ การนอนหลับ ที่ผิดปกติของตัวเอง
ปัจจัย และสาเหตุของการเกิด ภาวะนอนไม่หลับ
ปัจจัยและสาเหตุของการเกิด Insomnia นั้น มีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ซึ่งหากจะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ สามารถแบ่งได้ ดังนี้
- ปัจจัยทางด้านร่างกาย มีการเจ็บป่วยที่อาจทำให้เกิด ภาวะนอนไม่หลับ เช่น โรคขาไม่อยู่สุข เกิดจากความผิดปกติ ของระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท ทำให้ขามีการกระตุก ในระหว่างหลับ , โรคกรดไหลย้อน , ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ หรือผู้หญิง ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น มักจะมีปัจจัย ทางด้านจิตใจร่วมด้วย
- ปัจจัยทางด้านจิตใจ มี ภาวะเครียด กดดัน วิตกกังวล ท้อแท้ในชีวิต หมดกำลังใจ ซึ่งอาจเป็นผลจาก โรคจิตเวช เช่น ไบโพรลาร์ โรคซึมเศร้า รวมถึง การมีภาวะกังวลที่จะนอนไม่หลับ ( psychophysiological insomnia ) ทำให้มีความตื่นตัวมากกว่าปกติ
- ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อ การนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น ห้องสว่างหรือมีเสียงรบกวนมากเกินไป มีอากาศที่ไม่ถ่ายเท หายใจไม่สะดวก หรือไม่คุ้นชินกับสถานที่ ที่เปลี่ยนไป
- ปัจจัยการชีวิตประจำวัน การใช้ยาบางชนิด อาจทำให้เกิด ภาวะนอนไม่หลับ จนนำไปสู่การเกิดโรค ได้ง่าย ๆ เช่นการทำงานเป็นกะ ( Shift Work )การดื่มเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือสารนิโคตินในบุหรี่ ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้น ให้มีการตื่นตัวตลอดเวลา รวมไปถึงการใช้ยาบางชนิด เช่นยาแก้แพ้ ยาลดน้ำหนัก หรือลดความอ้วน ยาแก้หอบหืด ยาลดน้ำมูกบางชนิด ยากลุ่ม methylphenidateนอกจากนี้ ยังรวมไปถึง ออกกำลังกายมากเกินไป หรือออกกำลังกายก่อนนอน 4 ชั่วโมง
การวินิจฉัยและการรักษา โรคนอนไม่หลับ
แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ ทั้งลักษณะการนอน ความเครียด วิตกกังวล ร่วมกับการตรวจร่างกาย เพื่อหาสาเหตุ และหาแนวทางการรักษา ที่มีประสิทธิภาพ ในคนไข้แต่ละคนมากยิ่งขึ้น เช่น
- ตรวจเลือด เพื่อตรวจการทำงาน ของระบบต่อมไร้ท่อ ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่
- ประเมินนิสัย แพทย์จะสอบถามประเมิน การนอนหลับ ของผู้ป่วย รวมไปถึงการตื่น โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยทำการจดบันทึก การนอนหลับ ของตัวเองอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
- ทดสอบการนอน ( Sleep Test ) เพื่อประเมินความผิดปกติในหว่างนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ระดับออกซิเจนจขณะหลับ การทำงานของคลื่นสมอง การเคลื่อนไวของร่างกาย และลูกตา อัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
ซึ่งการรักษา จะแบ่งเป็น 2 แบบ
· การรักษาแบบไม่ใช้ยา
เป็นการรักษาเพื่อสร้างสุขอนามัยของ การนอนหลับ ที่ดี ซึ่งจะเป็นการปรับพฤติกรรม การนอน ให้มีคุณภาพที่ดี ( Sleep Hygiene )
1. เข้านอนตรงเวลา ตื่นตรงเวลา
2. สร้างบรรยากาศการนอน ให้เอื้ออำนวยต่อ การนอนหลับ ห้องต้องมืดสนิท ไม่มีเสียงรบกวน อากาศถ่ายเท และต้องผ่อนคลายก่อนนอน ต้องไม่ วิตกกังวล หรือมีภาวะเครียด
3. ไม่กินอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ไม่ดื่มน้ำก่อนนอน 1 ชั่วโมง
4. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอร์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนก่อนนอน 6 ชั่วโมงขึ้นไป
5. ไม่ทำกิจกรรมที่ทำให้ตื่นเต้นก่อนนอน
6. หมั่นออกกำลังกายทั้งตอนเช้า และช่วงเย็น ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน อย่างน้อย 4 ชั่วโมง
· การรักษาแบบใช้ยา
หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) นั้นมีสาเหตุมาจากโรคทางจิตเวช แพทย์มีความจำเป็นที่ต้องใช้การรักษา แบบใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งตัวยาที่ใช้รักษา โรคนอนไม่หลับ ( Insomnia ) มีกลุ่มยา ดังนี้
1. กลุ่ม Benzodiazepine เป็นยาที่ช่วยใน การนอนหลับ แบบชั่วคราว ออกฤทธิ์เร็ว ง่วงหลังรับประทานยาประมาณ 15 นาที และมีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ได้อีกด้วย แต่ยากลุ่มนี้สามารถทำให้เกิดการเสพติดได้ และหากใช้ต่อเนื่อง อาจทำให้ดื้อยาได้เช่นกัน ดังนั้น การทานยากลุ่มนี้ ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น ตัวอย่างยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ Eszopiclone (Lunesta) , Zolpidem , Zopiclone , Zaleplon เป็นต้น Lorazepam , Triazolam , Alprazolam , Midazolam , Clonazepam , Diazepam เป็นต้น
2. กลุ่ม non-Benzodiazepine เป็นกลุ่มยาที่ ออกฤทธิ์ค่อนข้างเร็ว สามารถดูดซึมง่าย แต่มีผลข้างเคียง เช่น มึนศีรษะละเมอ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่ามัว ท้องเสีย บางคนอาจปวดหลัง มีภาวะความจำเสื่อระยะสั้น หรืออาจถึงขั้นเป็น ภาวะตับอักเสบได้ ตัวอย่างยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ Eszopiclone (Lunesta) , Zolpidem , Zopiclone , Zaleplon เป็นต้น
3. ยาต้านเศร้า เป็นยาที่ใช้ในผู้ป่วย โรคซึมเศร้า แต่ก็สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้เช่นกัน เพราะมีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยในการหลับได้เช่นกัน ตัวอย่างยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ Eszopiclone (Lunesta) , Zolpidem , Zopiclone , Zaleplon เป็นต้น Trazodone , Mirtazapine , Amitriptyline , Doxepin เป็นต้น
4. Melatonin เป็นอาหารเสริม ที่ช่วยในการนอนหลับได้เช่นกัน melatonin คือ ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไพเนียล ( Pineal gland ) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับ ปัจจุบัน สามารถหาซื้อตามร้านขายยา แต่ต้องจัดโดยเภสัชกรเท่านั้น
การป้องกัน ภาวะนอนไม่หลับ
- เข้านอนเมื่อมีอาการง่วง
- ผ่อนคลายก่อนนอน ไม่ต้องมีความ วิตกกังวล หลีกเลี่ยงการดูการ์ตูน หนัง ละคร เล่นเกม หรือสื่อที่มีผลต่อสภาพจิตใจ
- เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ฝึกผ่อนคลายจิตใจ เพื่อคลายความ วิตกกังวล เช่นนั่งสมาธิ การฝึกหายใจ เป็นต้น
โรคนอนไม่หลับนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย หากสังเกตตัวเองว่ามีอาการดังกล่าว รีบปรึกษาแพทย์ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด แต่การรักษานั้น คุณต้องรักษาตามแผนของแพทย์ ด้วยความมีวินัย แล้วคุณจะเป็นผู้ที่นอนอย่างมีความสุขที่สุด รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Nonthavej : Petcharavej : Paolo