สุขภาพดี ห่างไกล โรคหัวใจ
ส่องข่าว พามาเล่าเรื่อง สุขภาพดี และโรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่ มีผู้ชีวิตจากโรคนี้มากที่สุด และพบว่า ในประเทศไทยมีผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ นี้ เกินร้อยละ 60 เลยที่เดียว ซึ่งโรคนี้นั้นมีความน่ากลัวอย่างมาก เพราะหัวใจเป็นอวัยวะที่มีผลต่อร่างกายโดยตรง ถ้าหัวใจมีปัญหาก็จะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดใน ร่างกายผิดปกติ และอาจถึงขั้นจะเสียชีวิตได้ โรคหัวใจนี้ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ ไม่ได้เป็นเฉพาะคนที่มีอายุเยอะหรือ ผู้สูงอายุ เท่านั้น แต่ยังพบว่า ในวัยรุ่น วัยหนุ่มสาว ในวัยทำงานก็มีโอกาสเสี่ยงต่อ การเป็นโรคหัวใจ ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก ปัจจัยต่าง ๆ SongKhao ( ส่องข่าว ) ขอบอกเลยว่า
รวมถึงไลฟ์สไตล์ ที่ทำให้การใช้ชีวิตอย่างไร้คุณภาพ ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหาร ฟาสต์ฟู้ด อาหารทอด ที่ใช้น้ำมันเก่าในการทอดก็ยิ่งจะเสี่ยงต่อโรคหัวใจมากขึ้นนั่นเอง และรวมไปถึง การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า มีการเครียดอย่างนักจากการทำงานหรือ ปัญหาที่เข้ามาลุมล้อม และการไม่ออกกำลังกาย หรือพักผ่อนน้อยมาก ก็ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค หัวใจได้ทั้งนั้น และถ้าหากมี สมาชิกในครอบครัว ที่ป่วยเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคเบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือด และโรคความดันโลหิตสูง ยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยวต่อการเป็น โรคหัวใจอีกด้วย เอาละครับที่พูดมาหลายคน คงจะกังวลแล้วว่าจำทะยังไงให้ปลอดภัยจากโรคนี้ได้ดี ที่สุดในวันนี้เรามีเคล็ดลับ สุขภาพดีห่างไกลโรคหัวใจมาฝากกันครับก่อนจะไปฟังกันเรา มาทำความรู้จักกับโรคนี้ก่อน ไปฟังกันเลยครับผม กับเว็บสาระดี ๆ SongKhao ( ส่องข่าว ) ที่จะทำให้คุณ สุขภาพดี
โรคหัวใจ คืออะไร ?
SongKhao ( ส่องข่าว ) พามารู้จักกับ โรคหัวใจ หรือที่เรียกกันว่า ( Heart Disease ) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติแปลกไปจากเดิมจนทำให้ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง ซึ่งโรคหัวใจนี้ สามารถแบ่งย่อยได้ หลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ และ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น ซึงพบว่าในปัจจุบันนั้นมีผู้ป่วย โรคหัวใจ และ หลอดเลือดมีอัตราการตายที่มีแนวโน้มจะ เพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ โดยในแต่ละปีนั้นจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คิดเป็นจำนวนถึง 5 หมื่นกว่าคน และเฉลี่ยออกมาเท่ากับว่า มีคนที่เสียชีวิตจากโรคนี้ในหนึ่งวัน เกือบ 150 คนเลยที่เดียวหรือคิดเป็นในหนึ่งชั่วโมง คิดเป็นชั่วโมงละ 6 คนเลยละครับ
ร่างกายของเราจะเตือน เมื่อเรามีโรคเกิดขึ้น
ใช่ครับ ร่างกายของคนเรานั้นมีความพิเศษ มากเพราะร่างกายจะเตือนเมื่อร่างกายเรามีปัญหา โดยถ้าเกิดท่านมีภาวะจะเกิดโรคหัวใจ ร่างกายจะเตือนท่านโดย
1. เหนื่อยง่ายกว่าผิดปกติ เวลาออกกำลังกาย หรือ เมื่อเราเดินเร็ว ๆ หายใจลำบากไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก ก็รู้สึกติดขัด อาจจะเป็นบางเวลา หรือเป็นตลอดเวลา หรือเกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย หรือเมื่อออกแรงมาก หรืออาจจะเป็นเฉพาะเวลากลางคืน
2. มีอาการเจ็บหน้าอก หรือแน่นบริเวณกลางหน้าอก แบบเจ็บแบบแสบ ๆ บริเวณกลางหน้าอก หรือ ด้านซ้าย หรือทั้ง 2 ด้าน ไม่สามารถนอนราบกับพื้นได้เหมือนปกติที่เคยนอน เพราะจะเหนื่อยเวลาหายใจ และรู้สึกว่าอึดอัดมากบริเวณหน้าอก
3. มีอาการหอบจนทำให้สะดุ้ง ตื่นในตอนกลางคืนหรือ สะดุ้งตื่นเวลานอนหลับ
4. เป็นลมหรือหน้ามืด หมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเรียกว่า อยู่เฉย ๆ ก็หน้ามืด วูบสลบไปนั่นเอง
5. บริเวณ ขา หรือ เท้ามีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ และบริเวณปลายมือ ริมฝีปาก และปลายเท้า มีลักษณะสีเขียวคล้ำเหมือนกับว่าเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณจุดนั้นได้
เมื่อมีอาการข้างต้นแล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเป็นโรคหัวใจ ไม่ได้เป็นโรคอื่น
ส่วนวิธีที่จะรู้ได้ยังไงว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ นั้น ก็ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายกับแพทย์เฉพาะทางนะครับซึ่งการตรวจหรือวินิจฉัยมีหลาย ขั้นตอนดังนี้
ตรวจร่างกาย วิธีที่1. จำทำการสอบถามประวัติ หรือ ซักประวัตื อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่น่าสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ และ ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้
ตรวจร่างกาย วิธีที่2. ตรวจร่างกายทุกระบบในร่างกายตัวเอง รวมไปทั้งตรวจว่าระบบหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดของเราทำงานปกติดีไหม หรือฟังการเต้นของหัวใจ และวัดความดันโลหิตนั่นเอง
ตรวจร่างกาย วิธีที่3. คือการตรวจด้วยการเอกซเรย์ ทรวงอกและตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้า ขนาดเล็กไปว่างตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายรนั่นเอง
ตรวจร่างกาย วิธีที่4. นะครับ คือการตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะ ที่ออกกำลังกายอยู่นั่นเอง หรือเรียกว่า Exercise Stress Test (EST) โดยจะเป็นการให้ผู้ป่วยเดิน หรือวิ่งบนสายพาน เพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และดูการเปลี่ยนแปลง ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถวิ่งบนสายพานได้ จะเป็นการตรวจด้วยคลื่นเสียง สะท้อนความถี่สูง เพื่อดูลักษณะทางกายวิภาค ของหัวใจ ความหนาแน่นของผนังของหัวใจ และการบีบตัวของหัวใจ
ตรวจร่างกาย วิธีที่5. คือตรวจหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรือ CT Coronary Artery เพื่อวิเคราะห์ หาเส้นเลือดที่ตีบ จากการที่มีไขมันไปเกาะ บริเวณเส้นเลือดทำให้ไหลเวียนลำบาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ หัวใจ อุดตันเฉียบพลัน และทำให้เกิด ภาวะ หัวใจวายเฉียบพลันได้
และนี่ก็เป็นขั้นตอนที่มีให้เลือกว่าเราจะตรวจด้วยวิธีการไหนแต่ ถ้าหากว่าไม่สะดวกวิธีที่กล่าวมา ก็มีการตรวจที่จะบอกได้ แน่ชัด คือ การตรวจแบบฉีด สีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ หรือ การสวนหลอดเลือดหัวใจอีกด้วยนะครับ
แล้วจำทำยังไงให้ สุขภาพดี ห่างไกล โรคหัวใจ ?
SongKhao ( ส่องข่าว ) ขอบอกง่าย ๆ เลยครับทำให้ สุขภาพดี ปรับพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจและ ก็หันมาออกกำลังกายเพราะกายออกกำลังกายเป็น วิธีที่ดีที่สุด ในการรักษา สุขภาพดี ของตัวเรานั่นเอง เมื่อคุณเริ่มออกกำลังกายในช่วงแรก ๆ อาจจะติด ๆ ขัดเพราะร่างกาย ของเรายังไม่คุ้นชิน แต่ถ้าเมื่อผ่านไป สักระยะ ร่างกายของเราจะปรับตัวได้ และพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น สุขภาพดี ปรับสมดุลในร่างกาย ทำให้จิตใจแจ่มใส และที่สำคัญเลยยังทำให้เราห่างไกลโรคต่าง ๆ ได้อีกด้วยนะครับ การออกกำลังกายก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายแบบ เวทเทรนนิ่ง การออกกำลังกายแบบเล่นกีฬา การออกกำลังกายแบบแอโรบิค ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะทำให้ร่างกายของท่านได้รับ การพัฒนาและแข็งแรงขึ้นอีกด้วย เอาใจช่วยให้กับคนที่อยากหันมารักษาสุขภาพกันนะครับ เพราะฉะนั้นแล้ว คำว่าไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นั้นดีจริง ๆ นะครับเพราะแบบนี้เราหันมาออกกำลังกายกันดีกว่าครับ หากสนใจอยากอ่าน เนื้อหาเพิ่มเติม อ่านได้เลยที่ คลิก >> SongKhao
อ่านเพิ่มเติม สุขภาพ // อาหารเพื่อสุขภาพ / สุขภาพร่างกาย
ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่มา / ไทรัฐออนไลน์ / มติชน / Thesun