EP.2 รับมือกับ โรคซึมเศร้า รู้ไว้! ก่อนสายไป
โรคซึมเศร้า เป็นโรคจิตเวช ที่พบมากอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย ที่มีความใกล้ตัวมาก สามารถเกิดได้กับ ทุกเพศทุกวัย มีความอันตรายไม่ต่างกับโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน หรือ มะเร็ง ข้อมูลจาก กรมสุขภาพ ระบุว่า มีผู้เสียชีวิต โรคซึมเศร้า มีผู้ที่ ทำร้ายร่างกาย ตัวเองและ ฆ่าตัวตาย สำเร็จ 8 คนต่อ 100,000 คน ในปี 2564 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง
กลับมาพบกันอีกครั้งกับ แอดมิน Songkhao บทความเรื่อง รับมือกับ โรคซึมเศร้า รู้ไวก่อนสายไป EP.2 ซึ่ง EP. ที่แล้ว เราได้กล่าวถึง ความหมาย สาเหตุ และอาการของภาวะซึมเศร้าแล้ว ซึ่งใน EP. นี้ เราจะมากล่าวถึง วิธีการรักษา วิธีการรับมือ และดูแลผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ตามไปดูกันเลยค่ะ
วิธีการรักษา โรคซึมเศร้า
การรักษา โรคซึมเศร้า นั้น อันดับแรกต้องมีการ “พูดคุย” กับจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการ จนแน่ใจว่ามี ภาวะซึมเศร้า มีความ วิตกกังวล มีความคิดอยาก ฆ่าตัวตาย หรือ ทำร้ายร่างกาย ตัวเองและคนอื่นรึเปล่า เป็นมานาน ติดต่อกันนานเท่าใด เพื่อประเมิน ระดับความรุนแรงของโรค เพื่อพิจารณา การรักษาต่อไป โดยการรักษา สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1. รักษาด้วยจิตบำบัด
เป็นวิธีการักษาสำหรับผู้ป่วย ที่มีอาการไม่รุนแรง โดยแพทย์อาจรักษาเพื่อพูดคุย 10 – 20 ครั้ง ด้วยการชี้แนะ การมองปัญหา ในมุมมองใหม่ แนวทางการแก้ไข และปรับตัว และการหาสิ่งที่ สามารถผ่อนคลาย ร่วมกับการทานยาแก้ซึมเศร้า หรือยาคลาย วิตกกังวล ในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
2. รักษาด้วย dTMS
ซึ่ง dTMS ย่อมาจาก Deep Transcranial Magnetic Simulation คือ การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในตำแหน่งเดียวกัน ผสมผสานขดลวดแบบพิเศษ ทำให้เข้าถึงจุดที่ต้องการกระตุ้น แบบใต้ผิวกะโหลกศีรษะ 3 เซนติเมตร ซึ่งจะใช้รักษาผู้ป่วย ที่ไม่มีการตอบสนอง ต่อการรักษา ด้วยยานั่นเอง โดยผู้ป่วย สามารถดีขึ้นประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ โดยหลักการทำงานของ dTMS จะไปกระตุ้นสมองโดยตรง โดยเหนี่ยวนำให้ปล่อยประจุไฟฟ้า เข้าไปปรับสมดุล ของสารเคมีในส่วนของสมอง ที่เข้าไปกระตุ้น ซึ่งเป็นการทำให้ ผู้ป่วยจาก ภาวะซึมเศร้า มีความ วิตกกังวล อยาก ฆ่าตัวตาย และอยาก ทำร้ายร่างกาย กลับสู่ สภาวะปกติ ที่เรียกว่า normalization นั่นเองค่ะ
3. รักษาด้วยการใช้ยา
หรือเรียกว่า ยาต้านเศร้า (Antidepressant) ซึ่งเป็น กลุ่มยา ที่รักษาผู้ป่วย โรคซึมเศร้า และเป็นยาที่สามารถป้องกัน การกลับมากำเริบของ ภาวะซึมเศร้า ได้ ต้องบอกกก่อนว่า ยาต้านเศร้านั้น มีอยู่หลายขนาน แต่งจะแบ่งจากการออกฤทธิ์ และโครงสร้างทางเคมี ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่ม Tricyclic Antidepressant เป็นยาที่ช่วย ดูดซึมสารสื่อประสาท Norepinephrine และ Serotonin ให้กลับเข้าสู่ เซลล์ประสาท ( Neuron ) เช่น Amitriptyline , Imipramine , Doxepin , Nortriptyline เป็นต้น
2. กลุ่ม Monoamine Oxidase inhibitors (MAOIs) เป็นยาที่คอยยับยั้งการทำงานของ Monoamine Oxidase enzyme เพื่อยับยั้งการ ภาวะซึมเศร้า ได้ เช่น Selegiline , Isocarboxazid
3. กลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ ยับยั้งการดูดซึมของสาร Serotonin เป็นหลัก รองมาคือ Norepinephrine และ Dopamine เช่น Fluoxetine , Paroxetine , Sertraline , Citalopram , Escitalopram เป็นต้น
ซึ่งยาต้านเศร้าเหล่านี้ มีผลข้างเคียง กับผู้ป่วยที่มี ภาวะซึมเศร้า เช่น ปากแห้งและคอแห้ง ท้องผูก ตาพร่ามัว ง่วงนอน มึนงง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ และมีความต้องการทางเพศลดลง เพราะเกิดจาก Serotonin มีปริมาณที่สูงขึ้น ทำให้เกิด Serotonergic Effect
คำแนะนำสำหรับ การดูแลตัวเองของผู้ป่วย
1. อย่าพยายามบังคับตนเอง เพราะเมื่อเกิดความฝืนแล้ว จะทำให้คุณไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ วิตกกังวล
2. มีงานอดิเรก ทำกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ ทำแล้วมีความสุข รู้สึกผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นดูหนัง ฟังเพลง ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ เป็นต้น
3. มองโลกในแง่ดี ไม่ด้อยค่าตัวเอง เพราะคุณนั้น มีค่ามากพอ ที่จะมีความสุขบนโลกนี้ได้ ไม่ใช่ความผิดของคุณเลย ที่อะไร ๆ ก็แย่ไปหมด ดังนั้น มองโลกในแง่ดี เพื่อตัวคุณเอง และการ ทำร้ายร่างกาย หรือ ฆ่าตัวตาย นั้นไม่ได้เกิดผลดีต่อใครเลย
4. รักตัวเองให้มากขึ้น ใส่ในใจในความรู้สึกของตัวคุณเองมากขึ้น ไม่ต้องสนใจคำพูด หรือความคิดของคนอื่น
5. ออกไปปลดปล่อยบ้าง ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วย หากอยู่ในที่แคบเป็นเวลานาน ย่อมมีความรู้สึกที่ไม่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น คุณควรออกไปสถานที่ ที่คุณได้ปลดปล่อยความคิดของคุณให้เป็นอิสระ เพื่อผ่อนคลาย วิตกกังวล
คำแนะนำ การดูแลผู้ป่วย
1. เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น คอยรับฟังด้วยความเข้าใจ ดูแลเอาใจใส่ มอบความรัก และต้องไม่ตัดสินผู้ป่วย เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยไม่เปิดใจที่จะคุยอีก
2. มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ผู้ป่วยทำ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตาม คุณควรที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นด้วย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกโดดเดี่ยว เพื่อลดช่องว่างการ ทำร้ายร่างกาย ตัวเองและ ฆ่าตัวตาย ของผู้ป่วย
3. คอยสังเกตอาการผู้ป่วย เพื่อประเมินอาการผู้ป่วย ว่าดีขึ้นหรือแย่ลง และคอยติดตามการทานยา เพื่อการรักษาที่ได้ผล และดีขึ้นในระยะยาว
4. คอยให้กำลังผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่า เขาต่อสู้เพียงลำพัง ให้ผู้ป่วยรู้สึกดีที่มีคุณคอยช่วยเหลือ คอยดูแลอยู่ข้าง ๆ ผู้ป่วย
โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่น่ากลัวก็จริง แต่หากผู้ป่วยที่มี ภาวะซึมเศร้า ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และได้รับการดูแลเอาใจใส่ ได้รับความเข้าใจจากคนที่ผู้ป่วยรัก ผู้ป่วยก็สามารถกลับมาเป็นคนที่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนเดิมได้ ก่อนจากกัน Songkhao อยากบอกผู้ป่วยที่กำลังหมดกำลังใจในตอนนี้ว่า คุณมีคุณค่ามากพอ ที่สามารถมีความสุขบนโลกนี้ได้ มันอาจจะเจ็บปวดบ้างบางครั้ง แต่คุณจะเป็นดอกไม้ที่ผลิดอกสวยงามสะพรั่งได้แน่นอนค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : RamaMental , PaoloHospital , Raksa