EP. 1 รับมือกับ โรคซึมเศร้า รู้ไว้! ก่อนสายไป
โรคซึมเศร้า ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังมีหลายคน ที่อาจจะยังไม่รู้ตัวว่า ตัวเองเป็น โรคซึมเศร้า หรือมี ภาวะซึมเศร้า ดังนั้น บทความนี้ เราจะมากล่าวถึง สิ่งที่ควรรู้ของ โรคซึมเศร้า และวิธีรับมือ หากคนใกล้ตัวของคุณ เป็นผู้ป่วย หรือมีอาการของ โรคซึมเศร้า เพราะหากพลาดสักเสี้ยววินาทีเดียว ก็อาจหมายถึงผู้ป่วยชินกับการ ทำร้ายตัวเอง และอาจเกิดการสูญเสีย ที่ไม่อาจย้อนกลับได้ จากการที่ผู้ป่วย ฆ่าตัวตาย ดังนั้น บทความนี้เขียนเพื่อให้ผู้อ่านนั้น ได้สังเกตตัวเองและผู้อื่น มีความเข้าใจ และรับมืออย่างถูกวิธีมากขึ้น
ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีข่าวที่เกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้า มากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น ดารา นักแสดง คนที่มีชื่อเสียง และคนทั่วไป ต่างก็สามารถมีภาวะซึมเศร้าได้ และยังเป็นโรคที่ทำให้คนไทย เสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยกรมสุขภาพจิตระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า มากถึง 1.5 ล้านคน โดยที่ผู้ป่วย 100 คน มีเพียงผู้ป่วย 28 คนเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงการรักษา และน่าตกใจว่าคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 4,000 คนต่อปี และผู้ป่วย โรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่ จะมี ภาวะซึมเศร้า เรื้อรังมาระยะยาว ดังนั้น ผู้ป่วยที่มี ภาวะซึมเศร้า และ สุขภาพจิต ที่ไวต่อความรู้สึก จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องเข้ารับการรักษา อย่างถูกต้อง และติดตามอาการ อย่างใกล้ชิดต่อไป ถือว่า ภาวะซึมเศร้านั้น เป็นโรคที่ใกล้ตัวมาก ๆ และไม่ควรมองข้ามผ่านไปได้
โรคซึมเศร้า คืออะไร
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder หรือ Depressive episode) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ทางด้านจิตเวช ที่ต้องได้รับการดูแล อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อาการดีขึ้น ซึ่งผู้ที่ป่วยนั้น มีสภาวะอารมณ์เศร้า เหมือนปกติ ซึ่งหาก สถานการณ์คลี่คลาย หรือมีบุคคลใกล้ชิด เข้าใจผู้ป่วย และให้กำลังผู้ป่วย ก็อาจทำให้อาการซึมเศร้านั้นทุเลา หรือดีขึ้น ในสังคมไทยส่วนใหญ่ จะมองผู้ป่วยโรคนี้ว่า เป็นคนที่อ่อนแอ ไม่ปล่อยวาง คิดมาก เอาแต่หนีปัญหาโดยการ ฆ่าตัวตาย และเรียกร้องความสนใจ จากการ ทำร้ายตัวเอง แต่นั่น เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยเอง ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะขึ้นชื่อว่า “โรค” ย่อมเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น ผู้ป่วยก็จะกลับมาเป็น คนที่ร่าเริง แจ่มใส และใช้ชีวิตประจำวันได้ เหมือนกับคนทั่ว ๆ ไป
สาเหตุ
1. พันธุกรรม จากการวิจัยพบว่า การสืบทอดทางพันธุกรรม มีผลทำให้เกิดโรค และมีอาการซ้ำ ๆ หลายครั้ง
2. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง พบว่า การทำงานของระบบสารเคมี ในสมองของผู้ป่วย มีความผิดปกติ อย่างชัดเจน สารที่สำคัญ ได้แก่ ซีโรโทนิน ( serotonin ) และ นอร์เอพิเนฟริน ( norepinephrine ) ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึงอาจรวมไปถึง ความผิดปกติของ เซลล์รับสื่อประสาทร่วมด้วย จึงส่งผลต่อความคิด และอารมณ์ของผู้ป่วย
3. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม และจิตใจ ที่อาจมากจาก ความเครียด นิสัยส่วนตัว หรือมีเหตุการณ์ที่สะเทือนใจอย่างรุนแรง เช่นอุบัติเหตุ สูญเสียบุคลที่เป็นที่รัก และนอกจากนี้ ยังมาจาก การเลี้ยงดูในวัยเด็ก อยู่กับครอบครัวที่มีความรุนแรง จึงชินกับการ ทำร้ายตัวเอง และถูกผู้อื่นทำร้ายร่างกาย หรือมาจากการที่รู้สึกว่า มีคุณค่าในตัวเองลดลง เช่น หลังเกษียณ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง ภาวะซึมเศร้า หลังจากที่มีปฏิกิริยาทางใจ เช่น มีอาการซึมเศร้า หลังเสียคู่ชีวิต หลังคลอด ตกงาน หลังหย่าร้าง เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อ สภาพจิตใจของผู้ป่วย ทำให้มีสภาพจิตใจ ที่เหนื่อยล้า เบื่อหน่าย เสียใจ และผิดหวัง และยังอาจเกิดมาจาก การเจ็บป่วย ที่เรื้อรัง และรู้สึกท้อต่อการ ใช้ชีวิตต่อไป ซึ่งการเกิดโรค ไม่ได้มีแค่เพียงปัจจัยเดียว ที่มีผลต่อความรู้สึกของผู้ป่วย
อาการ
1. มีอารมณ์ ที่เปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการซึมเศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย หงุดหงิดง่าย ไม่สบายใจ กระวนกระวาย มีความ วิตกกังวล อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
2. มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ไม่สนใจสิ่งงแวดล้อม ไม่มีความร่าเริง แจ่มใส เก็บตัวมากขึ้น พูดคุยกับคนอื่นน้อยลง มีสภาพจิตใจ ที่อ่อนไหวง่าย ทำร้ายร่างกายตัวเอง ฆ่าตัวตาย แล้วรู้สึกดี เหม่อลอย เป็นต้น
3. ความคิดเปลี่ยนไป มองโลกในแง่ร้าย วิตกกังวล มองเห็นแต่ ข้อผิดพลาดของตัวเอง รู้สึกตัวเองไร้ค่า หมดหวังในชีวิต รู้สึกว่าอยากหนีปัญหา มีความคิด ฆ่าตัวตาย เพื่อให้ปัญหานั้นจบไป และอาจมีความคิด ที่จะ ทำร้ายตัวเอง เมื่อมีเหตุการณ์ มากระตุ้นจิตใจที่อ่อนไหว อาจเกิดความสูญเสียได้
4. ความจำแย่ลง หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ ประสิทธิภาพ การทำงานลดลง อย่างเห็นได้ชัด ทำงานช้าลง ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นาน วิตกกังวล ตลอดเวลา รู้สึกเพลีย เหนื่อยล้า ไม่มีแรง และการตัดสินใจช้าและแย่ลง
5. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย นอนไม่หลับ วิตกกังวล ตื่นเร็ว ทานอาหารน้อยลง หรือบางราย อาจมีการรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น นอนหลับมากเกินไป เพื่อปกป้องความรู้สึกตัวเอง และยังมีอาการเรื้อรัง ที่ไม่สามารถ รักษาด้วยยาธรรมดาได้ เช่น ปวดศีรษะ แน่นท้อง แน่นหน้าอก
6. อาจมีอาการ ทางประสาทร่วมด้วย ส่วนมากจะพบใน ผู้ป่วยเคสที่มีความรุนแรง จะพบว่า มีอาการของโรคทางจิตร่วมด้วย เช่น อาการหลงผิด ประสาทหลอน โดยเชื่อว่า จะมีคนคอยกลั่นแกล้ง อาจมีอาการหูแว่ว และมีอาการ พูดคนเดียว
แต่อาการเหล่านี้ ทำร้ายตัวเอง วิตกกังวล และคิดที่จะ ฆ่าตัวตาย เป็นอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา และได้รับความรัก ความเข้าใจ และได้รับการยอมรับ อาการเหล่านี้และ ภาวะซึมเศร้า จะหายไป
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับความหมาย สาเหตุ และอาการของ โรคหรือภาวะซึมเศร้า หากคุณสังเกตตัวเอง หรือคนรอบขางแล้วว่าเข้าข่าย ที่จะเป็นโรคนี้ ให้เข้ารับการรักษา เพื่อให้อาการเหล่านี้หายไป เพราะคุณเป็นคนที่มีคุณค่าในตัวเอง คุณดีในแบบของคุณ และยังมีคนที่คอยรับฟัง และมอบความรัก ให้คุณ อย่างไม่มีข้อกังขา แอดมิน Songkhao ขอจบ EP.1 ไว้เพียงเท่านี้ พบกันใหม่ ใน EP. 2 นะคะ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : RamaMental , Phyathai