ชูการ์ไกลเดอร์ (sugar glider) สัตว์เลี้ยง ยอดฮิตในปี 2022
ชูการ์ไกลเดอร์ (sugar glider) สัตว์เลี้ยง อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ และไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยถดถอยลง ผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์ ณ ขณะนี้ คงไม่มีใครไม่รู้จัก ชูการ์ไกลเดอร์ สัตว์เลี้ยง น่ารัก แถมยังบินได้ ที่ในตอนนี้ได้กลายเป็น สัตว์เลี้ยง ยอดฮิตที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของคนที่นิยมเลี้ยง สัตว์เลี้ยง ไว้เป็นเพื่อนยามเหงาเลยทีเดียว
ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่า สัตว์เลี้ยง ที่หากินกลางคืนอย่าง ชูการ์ไกลเดอร์ สัตว์แปลก ที่กำลังเป็นที่นิยมของคนเมือง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่มีเวลามาใส่ใจ สัตว์เลี้ยง มากนัก แต่ ชูการ์ไกลเดอร์ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนเลี้ยงได้ เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิต และลักษณะนิสัยของสัตว์ประเภทนี้ ได้เข้ากันกับไลฟ์สไตล์ของคนในสังคมปัจจุบันได้ดี แค่เวลาเพียงไม่นานเจ้า ชูการ์ไกลเดอร์ ก็เข้ามาโดดโลดเล่นในกระเป๋า ของคนรักสัตว์เป็นจำนวนมาก
วันนี้แอดมินจะพาคุณไปท่องอาณาจักรสัตว์ บินได้ และสัมผัสความ น่ารัก บินได้ ขี้อ้อนของเจ้า ชูการ์ไกลเดอร์ แบบตัวเป็นๆกันเลยค่ะ
มาทำความรู้จัก กับ ชูการ์กัน
ชูการ์ไกลเดอร์ (sugar glider) หรือ ที่หลายคนเรียกกันว่า จิงโจ้บิน ที่สามารถ บินได้ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Petaurus breviceps เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง และมีถิ่นกำเนิดอยู่ใน ทวีปออสเตรเลียเหมือนกับจิงโจ้ แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก รวมทั้งยังมีหนัง ที่เป็นพังผืดเชื่อมระหว่าง ขาหน้ากับขาหลัง และสามารถร่อนตัวจากต้นไม้ต้นหนึ่ง ไปยังอีกต้นได้ในระยะสั้นๆ ได้คล้ายกับตัวบ่างของไทยนั่นเอง
ชูการ์ไกลเดอร์ ในขนาดตัวปกตินั้นมีสีเทาคาดด้วยแถบสีดำ บริเวณส่วนหลังเป็นทางยาวตั้งแต่หน้าผากไปจนถึงปลายหาง ท้องมีสีขาว ในเมืองไทยเรียกนั้น ชูการ์ไกลเดอร์ สีธรรมดาพวกนี้ว่า นอร์มัล (Normal) ส่วนต่างประเทศนิยมเรียกกันว่า สแตนดาร์ด (Standard) หรือ คลาสสิก (Classic) แต่เมื่อมีการเลี้ยงไปนานเข้า ก็เริ่มมีผู้สังเกตว่าลูก ชูการ์ไกลเดอร์ บางตัวนั้นมีลาย ผิดไปจากเพื่อนพ้อง จึงคัดแยกออกมาผสมกันไปมาจนได้ตัวที่มีลักษณะแปลกตาออกไปมากมาย
อย่าง แบล็คบิวตี้ (Black Beauty) มีแต้มสีดำเข้ม รอบดวงตาหนาและเข้มกว่าตัวปกติ หรือ ไวท์ทิป (White Tip) มีปลายหางเป็นสีขาว และ ริงเทล (Ring Tail) มีลายเป็นปล้องตรงส่วนหาง เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีพวกที่ขนกลายเป็นสีประหลาด เช่น สายพันธุ์ที่เรียกกันว่า ไวท์เฟซ (White Face) ซึ่งมีหน้าสีขาวตามชื่อ หรือ โมซาอิก (Mosaic) ที่โดยทั่วไปมีลำตัวสีอ่อนกว่าปกติ เท้าและหางสีขาว แต่ ใบหูยังเป็นสีดำ หรือ พายบอลด์ (Piebald) ที่มีแต้มสีดำเป็นปื้นหรือหย่อมเล็กๆ บนพื้นลำตัวสีขาวครีม รวมทั้ง อัลบิโน (Albino) ซึ่งเป็นชูการ์ไกลเดอร์เผือก ขนสีขาวปลอด ดวงตาเป็นสีแดงหรือชมพู ซึ่งเป็น ลักษณะที่จัดกันว่าเป็น“เผือกแท้” เมื่อเลี้ยงไปแล้วจะไม่เปลี่ยนกลับไปเป็นสีอื่นอีกเลย และ ครีมมีโน (Cremeno) ที่ดูคล้ายกัน แต่ยังมีสีเทาจางๆ เป็นลายอยู่บนหลัง ชูการ์ไกลเดอร์ แปลกๆ พวกนี้จึงมีให้เห็นกัน แต่ที่เพาะเลี้ยงและจำหน่ายกันนั้นจะมีราคาสูงกว่าตัวปกติมาก แบบที่หายากหน่อยอาจซื้อขายกันด้วยเลข หกหลักเลยทีเดียว
ลักษณะนิสัยของเจ้าชูการ์
นิสัยและพฤติกรรมของ ชูการ์ไกลเดอร์ เป็นสัตว์ Active มากในตอนกลางคืน และใช้เวลาในการนอนตอนกลางวัน ดังนั้นหากจะเล่นกับเจ้า ชูการ์ไกลเดอร์ ในตอนกลางวัน อาจจะทำให้เขาหงุดหงิดได้ เพราะเป็นช่วงเวลาพักผ่อนและนอนของเขา หรือถ้าไปฝืนจับ และสัมผัสตัวเขาบ่อย ๆ ตอนที่เขาไม่อยากเล่นด้วย น้องชูการ์ก็จะขู่ เพื่อแสดงออกทางอารมณ์ว่ากำลังหงุดหงิด แต่ถ้าลองเปลี่ยนไปเล่นกับเขาช่วงกลางคืน ช่วงที่เค้าพร้อมจะเล่น เราก็ควรให้เวลาเจ้าชูการ์อย่างเต็มที่ ส่วนคนแปลกหน้าแนะนำให้หลีกเลี่ยงสัมผัสชูการ์เพราะเมื่อผิดกลิ่นจากที่เขาคุ้นเคย อาจจะถูกกัดได้
ชูการ์ นั้นเป็นสัตว์ที่มีนิสัยค่อนข้างขี้อ้อน ชอบอยู่ติดกับเจ้าของตลอด และสามารถพาไปไหนมาไหนได้สะดวก คนเลี้ยงหลายคนจึงชอบลักษณะนิสัยที่ น่ารัก แบบนี้ของมัน เจ้าชูการ์สามารถตอบสนองและเล่นกับคนเลี้ยงได้ง่าย เนื่องจากเป็นสัตว์สังคม ชอบอยู่เป็นกลุ่มในฝูงมากกว่าที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว
เมื่ออยู่กับคนเลี้ยงแล้ว เขาจะ น่ารัก เชื่องง่ายมากๆเลย แต่บางคนกลับเลี้ยงไม่เชื่องก็มีแต่จะให้อาหารอย่างเดียวไม่เคยเล่นไม่เคยดูแล เพราะชูการ์เป็นสัตว์สังคมเขาต้องการการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างกัน โดยส่วนใหญ่ชูการ์จะไม่กัดเจ้าของมีแต่จะงับเล่นๆ หยอกเจ้าของ แต่มีบางตัวที่เลี้ยงไม่เชื่อง เมื่อเราทำอะไรไม่ถูกใจก็มางับบ้างแต่เป็นลักษณะที่งับแล้วปล่อย ไม่ได้ทำให้เราบาดเจ็บ เพียงแต่เพื่อบอกให้เจ้าของรู้ว่าไม่พอใจเท่านั้น
การเลี้ยงดู
ชูการ์จะมีอายุขัยเฉลี่ย 10-15 ปี เป็นสัตว์เชื่อง นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันเราสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่องหรือกรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร จะเป็นกรงขนาด 24 x 24 นิ้ว หรือ x 36 นิ้วสำหรับเลี้ยง 1 คู่ ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ชอบกระโดดและปีนป่าย แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว
ผู้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ซึ่งแต่ก่อนนั้นจะเป็นกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์พวก กระรอก หรือ กระแต แต่ตอนนี้หันมาเป็นเลี้ยงชูการ์กันมากขึ้นเพราะอย่างแรกคือสัตว์ จำพวกกระรอก กระแตนั้นเป็นสัตว์ผิดกฎหมาย จึงถือเป็นการลักลอบเลี้ยงสัตว์ แต่ชูการ์เป็นสัตว์ ที่ถูกกฎหมายไม่ว่าจะเป็นทั้งของไทยหรือกฎหมายระหว่างประเทศเอง เนื่องจากเป็น สัตว์เลี้ยง ที่แพร่พันธุ์ค่อนข้างจะง่าย และไม่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ อย่างที่สองคือสามารถตอบสนองกับมนุษย์ได้ง่ายกว่า และอย่างที่สาม ก็คือเหมาะสมกับไลฟ์สไตล์คนปัจจุบัน เพราะมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน จึงเหมาะสำหรับคนทำงานออฟฟิศที่อาศัยอยู่ตามคอนโดต่างๆ
เนื่องจากการที่เขาจะเข้ามาซื้อชูการ์ในเมืองไทย ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดและน่าจะเป็นอันดับ 1 ของโลกเลยทีเดียว ในการเพาะพันธุ์ชูการ์ เนื่องจากคนไทยมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยง ประกอบกับสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย อาหาร ผลไม้ที่หลากหลาย และแมลงที่หาได้มากมายในเมืองไทย ทำให้เราได้เปรียบกว่าประเทศอื่นมาก เราจึงสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกได้สบายๆ
ในปัจจุบันนั้นประเทศที่เลี้ยงชูการ์มากที่สุด เป็นประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งเมืองไทยส่งชูการ์ไปขายที่ญี่ปุ่นประมาณ 70-80% นอกจากนั้นจะเป็นประเทศจีน ไต้หวัน และตะวันออกกลาง ส่วนประเทศในแถบยุโรปกำลังอยู่ในช่วงติดต่อ และดำเนินการเรื่องการส่งสินค้า
ข้อควรระวังในการเลี้ยง
ชูการ์นั้นเป็นสัตว์ น่ารัก บินได้ ตัวเล็กๆ บางทีจึงต้องระมัดระวังในการเลี้ยงดู ถึงแม้ว่าชูการ์จะเป็นสัตว์ที่ไม่เฉามือ และขี้เล่นอยู่พอสมควร แต่ด้วยลักษณะนิสัยของมันที่ชอบคลุกคลีอยู่กับคน จนบางครั้งเจ้าของอาจเผอเรอไม่ระวังเจ้าตัวเล็กได้ แม้กระทั่งการติดเชื้อโรคจากคนเอง หรือมาจากอาหารการกินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของชูการ์ ดังนั้นคนเลี้ยงจึงควรศึกษาให้ดีก่อน ก่อนที่ชูการ์ของเรานั้นจะต้องจากไปก่อนวัยอันควร
เนื่องด้วยชูการ์เป็นสัตว์กินจุ น่ารัก บินได้ การที่เจ้าของให้ อาหาร ไม่ว่าจะเยอะขนาดไหนก็กินเท่านั้น บางตัวถ้าไม่ควบคุมการกินจะอ้วนกลมส่งผลต่ออายุเฉลี่ยจะสั้นลง ซึ่งชูการ์จะชอบ อาหาร ที่มีรสหวาน จึงเป็นที่มาของชื่อ ชูการ์ ที่แปลว่าหวานนั่นเอง ข้อควรระวังในเรื่องการกินอย่างหนึ่ง คือชูการ์เป็นสัตว์ น่ารัก บินได้ ที่แพ้นมวัว ไม่สามารถกินนมวัวได้ โอกาสตายมีสูงถึง 90%
เจ้าชูการ์นั้นจะสามารถติดเชื้อโรคจากคนได้ง่าย วิธีการทำความสะอาด ปกติแล้วชูการ์จะทำความสะอาดตัวเองได้โดยการเลีย แต่ถ้ามันสกปรกมาก หรือมีกลิ่น คนเลี้ยงสามารถเอาสำลี หรือกระดาษทิชชูชุบน้ำอุ่นเช็ดตัวได้ และเช็ดตัวให้แห้ง อย่าใช้ไดร์เป่าแรงเกินไปเพราะอาจทำให้หูเป็นแผลได้ เพราะชูการ์ น่ารัก บินได้ จะมีหูที่บางมาก และเมื่อมีอายุประมาณ 3-4 เดือนจึงจะสามารถตัดเล็บได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เล็บข่วนคนเลี้ยง
เมื่อผู้ที่นำไปเลี้ยงสามารถเลี้ยงปล่อยไว้ในห้องได้ ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ลูกค้านำชูการ์ออกมาจากกรงเพื่อเล่นกับเขาและปล่อยให้เขาออกกำลังกายซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าชูการ์อยู่ตัวเดียว ถ้าคนเลี้ยงไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเขาเลย สัตว์จะเกิดอาการเครียด ถึงขนาดกัดหางตัวเองขาด หรืออาจจะกัดท้องตัวเองแตกตายเลยทีเดียว ดังนั้นควรเลี้ยงเป็นคู่จะดีกว่า จะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน
ในส่วนของปัญหาส่วนมากเนื่องจากเขาจะค่อนข้างจะขี้อ้อน ชอบอยู่กับคนเลี้ยง ชอบซุก บางทีแอบมานั่งตามซอกขาแล้วคนเลี้ยงไม่รู้แล้วทับขึ้นมาก็สามารุมีโอกาสทำให้ตายได้ โอกาสที่ชูการ์ตายจึงเกิดมาจากเจ้าของทับนั้นยอะมากๆ จนบางทีปล่อยออกมาเล่นแล้วเราหลับก็ไปทับเขา โดนยังมีกรณีหนึ่ง คือคนเลี้ยงไม่ได้ปิดประตูห้องน้ำแล้วชูการ์เกิดแอบเข้าไปตกลงไปในชักโครก คนเลี้ยงมาเข้าห้องน้ำไม่ได้เปิดไฟ เมื่อกดชักโครกชูการ์ก็หายไปเลยลงชักโครกไป ดังนั้นการตายของชูการ์จึงเกิดจากความบกพร่องของเจ้าของ (Human Error) ส่วนใหญ่นั้นการตายของชูการ์จึงไม่ได้ตายด้วยตัวของเขา หรือโรคภัยของเขาเองเลย
อาหารของชูก้าร์
ในเรื่อง อาหาร การกิน ชูก้าร์ไกลเดอร์ สามารถกิน อาหาร ได้หลายประเภท คือกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก แตงโม และอื่นๆทั้งนี้ ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ก็ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น ตั๊กแตน จิ้งหรีด หนอนนก เพื่อเพิ่มโปรตีน
ชูการ์มีสัญชาตญาณหากินตอนกลางคืน เป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ กินน้ำหวานจากต้นไม้ ดอกไม้ ยางไม้ กินสัตว์เล็ก ๆ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นจะเป็นกลุ่มแมลง แต่ด้วยการพัฒนาสูตรอาหาร ในปัจจุบันทำให้ชูการ์มี อาหาร เฉพาะของตัวเอง เป็น อาหาร เม็ดเฉพาะสำหรับชูการ์ นายสัตวแพทย์เองก็ชี้แนะว่า การให้ชูการ์กินหนอนในปริมาณมาก ๆ จะส่งผลต่อสุขภาพในลักษณะค่า fat ในร่างกายเกินปริมาณ ฉะนั้นควรเลือก อาหาร และจำกัดปริมาณตามความอย่างเหมาะสม
ส่วนปริมาณ อาหาร ในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินวันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลดเหลือวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้ อาหาร วันละ 1 ครั้งคือ ก่อนนอนก็เพียงพอแล้ว ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย
และแม้ว่า ชูการ์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็สามารถพาไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ ป้องกันไม่ให้ปอดชื้น
สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร ยิ่งถ้าหาก ชูการ์ นั้นเกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึกเกินไป เพราะอาจจะโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน่อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุดเลย
การผสมพันธุ์
ชูการ์จะมีความพร้อมที่จะผสมพันธุ์นั้น ตัวผู้ต้องมีอายุ 1 ปี ส่วนตัวเมียอายุ 8 เดือน ระยะเวลาการตั้งท้องประมาณ 16 วัน และจะคลอดออกมาตัวโดยประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว จากนั้นลูกน้อยจะคลานเข้ากระเป๋าหน้าท้องแม่เองตามสัญชาตญาณของมัน และยังเลี้ยงลูกอยู่ในกระเป๋าหน้าท้องนานถึง 2 เดือนหลังคลอด ซึ่งในกระเป๋าหน้าท้องนี้จะสามารถเลี้ยงลูกได้ถึง 4 ตัว เพราะด้านในมีเต้านมอยู่ทั้งหมด 4 เต้า
ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยประมาณ 70-80% ชูการ์จะคลอดลูกประมาณ 2 ตัว ที่เหลือจะเป็นตัวเดียวส่วน 3 ตัวนั้นจะมีน้อยมากแต่ก็มีบ้าง แต่ 4 ตัวในเมืองไทยยังไม่มีจะมีในต่างประเทศ ของอเมริกาและออสเตรเลีย ความพิเศษของกระเป๋าหน้าท้องจะมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่คอยทำความสะอาดตัวลูกน้อยของเขา ในปีหนึ่งชูการ์สามารถตั้งท้องได้ถึง 2-3 ครอก ถ้าร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรงเพียงพอ ก็จะมีความพร้อมในการผสมพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง
การเลือกซื้อ ชูการ์
ในปัจจุบัน ชูการ์ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก ทั้งนี้ ชูการ์สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง ส่วน ชูการ์พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาลหรือส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ ชูการ์ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะ ชูการ์เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน
เห็นน้องตัวเล็กแค่นี้ แต่รู้มั้ยว่าราคาน้องนั้นไม่เบาเลยทีเดียว ชูการ์ สีเผือกตาดำ (รูซิสติก) หรือสีขาว มีราคาเริ่มที่ตัวละ 70,000 บาท ส่วนสีเผือกตาแดง 150,000-200,000 บาท ส่วนสีนอมอลธรรมดา ตัวผู้จะขายตัวละ 1,400 บาท ส่วนตัวเมีย 1,700 บาท นอกจากนี้มีสีโมเสก (Mosaic) ลักษณะเป็นสีด่างๆ ทั่วทั้งตัว ราคา 75,000-80,000 บาท และสี ไวท์เฟลช (White Face) ลักษณะจะแตกต่างจากตัวธรรมดานิดหน่อย คือตรงรอบขอบตา รอบปาก รอบหู คือจะมีหน้าขาวทั้งหมด ซึ่งราคานั้นจะขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจตลาดโลกปัจจุบัน
ข้อแตกต่างกันระหว่างตัวผู้กับตัวเมีย จึงทำให้มีราคาขายที่ไม่เท่ากันเสมอ คือตัวผู้จะมีต่อมกลิ่นอยู่ที่หัว มีไว้เพื่อปล่อยกลิ่นเรียกตัวเมียมาผสมพันธุ์ พอโตเต็มที่หัวจะมีลักษณะล้านนิดๆ ส่วนตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้องเหมือนจิงโจ้และจะเลี้ยงลูกในกระเป๋าหน้าท้อง ตัวเมียสามารถให้ลูกจึงขายต่อได้ ดังนั้นคนจึงนิยมเลี้ยงตัวเมียมากกว่า ชูการ์ที่สามารถขายให้แก่ลูกค้าจะมีอายุประมาณ 2เดือน 3 อาทิตย์ ถึง 3 เดือน เป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : CampusStar , MGROnline