โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 รักษาได้ ไม่พึ่งยา แค่เลือกทาน ?

SongKhaoโรคเบาหวาน-ปก

       โรคเบาหวาน  เชื่อว่าไม่มีใคร ไม่รู้จัก และคงไม่มีใครไม่เคยได้ยิน  เพราะปัจจุบันนั้น โรคเบาหวาน กำลังรุกรานไปทั่วโลก ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงสุดๆ โดยข้อมูลจากสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ หรือ IDF ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันนั้น มีผู้ป่วยเบาหวาน รวมทั้งโลกมากกว่า 400 ล้านราย

        และคนไทยนั้น เสียชีวิตจาก โรคเบาหวาน เฉลี่ยวันละ 200 คน เลยทีเดียว และยังมีแนวโน้มที่จะพุ่งสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย  แต่ถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น เราก็ยังพบว่าคนส่วนใหญ่ ยังไม่ตระหนักถึง ภัยเงียบของโรคนี้เท่าที่ควร ในปัจจุบัน

        ในขณะนี้ ผู้คนทั่วไป มักมีความเข้าใจผิด ๆ อยู่หลายอย่าง  จึงยิ่งทำให้ผู้คนบนโลก มีโอกาสเสี่ยงในการเป็น เบาหวาน มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตัวเอง คนรอบข้าง และรวมไปถึงผู้ป่วย สามารถดูแลตัวเองให้อยู่กับโรคได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข วันนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจกับ เบาหวาน และ รักษาได้  ให้กับผู้อ่านและสนใจ

สาเหตุของการเกิด โรคเบาหวาน

         เกิดจากสาเหตุหลักๆ 2 ประการคือ เกิดจากกรรมพันธุ์ และ การใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานอาหารเป็นส่วนสำคัญที่สุด การทานอาหารที่ไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกาย เมื่อเป็นเบาหวานแล้ว บางคนยังขาดวินัยในการติดตามโรค ไม่ได้ตรวจ ระดับน้ำตาล ในเลือด อยู่สม่ำเสมอ เพราะคิดว่ามันยุ่งยาก ทำให้ขาดข้อมูลในการติดตามเบาหวาน อันเป็นประโยชน์ ที่ช่วยให้แพทย์ใช้ในการวินิจฉัยและ ประเมินแนวทางการรักษา

“ อันที่จริงแล้วบาหวาน ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะอ้วนลงพุง มีไขมันสะสมมาก ทุกๆ ครั้งที่สำรวจคนไทย พบว่าคนไทยมีภาวะอ้วน และปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ใหญ่ ในเด็กก็เป็นเบาหวาน ได้ เพราะบ้านเรามีค่านิยมเลี้ยงเด็กต้องให้อ้วนอุดมสมบูรณ์ไว้ก่อน มีโอกาสที่มี ระดับน้ำตาลในเลือด สูง ข้อมูลการศึกษาบอกว่า ถ้าเด็กอ้วน มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็เพิ่มขึ้น ในปัจจุบัน โรคเส้นเลือดตีบหรือหลอดเลือดอุดตัน ที่เป็นผลมาจากเบาหวานด้วยนั่นเอง มีรายงานว่า สามารถพบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ห้าขวบ ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มตั้งแต่เด็กเลย”

SongKhao-โรคเบาหวาน-ประกอบ1

เบาหวานเป็นโรค 2 ทาง ไม่ใช่ว่าหมอสั่งยาอะไรมาให้กิน แล้วจะ รักษาได้ ไม่ใช่เลย

          เพราะนอกเหนือจากการทานยาแล้วนั้น การปฏิบัติตนการใช้ชีวิต ควบคุมอาหาร ก็เป็นส่วนที่สำคัญยิ่งกว่า ไม่เหมือนกับโรคบางโรค อย่างเช่น วัณโรคที่ไม่ต้องปฏิบัติตัวอะไรมาก แค่เพียงกินยาครบก็จบแล้วใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่โรคเบาหวานไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะจำเป็นต้องมีการ ควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการตรวจน้ำตาลว่าอยู่เสมอว่าอยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่

        การดูแลตนเองนั้นก็สำคัญ รวมถึงการไปตรวจและ ลงบันทึกข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ นับเป็นหัวใจหลักของการรักษาเบาหวานที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยปกติ ผู้เป็นเบาหวานควรจะทำการตรวจค่าน้ำตาลด้วยตัวเองทุกวัน (Self – Monitoring of Blood Glucose) ทั้งก่อนและหลังอาหาร เพื่อจะได้ทราบถึงที่มาของค่าน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถกำหนดอาหารที่ควรจะรับประทานอาหารและ ควบคุมอาหาร ในครั้งต่อไป ทำให้คุมเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น

        เบาหวาน นั้นเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องรู้จักดูแลตัวเอง ในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ควรใส่ใจที่จะตรวจวัด ระดับน้ำตาล ในเลือดให้เป็นประจำ ทำร่วมไปกับการเลือกรับประทานอาหาร ควบคุมอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้ยาหรือ อินซูลิน ตามแผนการรักษา ขณะที่ความถูกต้องและแม่นยำของเครื่องตรวจน้ำตาล รวมทั้งการจัดการค่าน้ำตาลที่สะดวกในการวิเคราะห์ผล ผลที่ออกมาก็จะสามารถ ช่วยให้แพทย์จ่ายยาและรักษาโรคได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด  แถมยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอยู่กับเบาหวาน อย่างมีความสุขอีกด้วย

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน

          ความเชื่อผิดๆ หรือความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน เป็นสิ่งที่ซึมลึกอยู่ในสังคมมานาน หากไม่ได้รับการแก้ไข ปล่อยให้หลายคนมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวานอยู่ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ผลลัพธ์ที่จะตามมาก็คงหนีไม่พ้น จำนวนผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น และผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มอาการหนักขึ้น มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น เพราะไม่สามารถดูแลตัวเอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ที่ถูกต้อง ดั้งนั้นเราทุกคนทำความเข้าใจสิ่งที่ถูกต้องให้ชัด ควบคุมอาหาร เพื่อเอาไว้ใช้ดูแลตัวเอง และดูแลคนที่เรารัก ให้ปลอดภัยจากภัยของเบาหวานมากยิ่งขึ้น

  • ยารักษา โรคเบาหวาน มีผลทำให้ไตเสื่อม

             เป็นความเชื่อที่  ไม่ถูกต้อง เพราะที่แท้จริงแล้ว ตัวการหลักสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมไวพังเร็ว ก็คือ ภาวะเบาหวาน เพราะคนที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดสูงเกินคนปกติ ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้การกรองของเสียของไตทำงานหนักขึ้น มีน้ำตาลในปัสสาวะที่สูงเกิน ทำให้ไตนั้นไม่สามารถดูดกลับมาได้ทั้งหมด บางส่วนจึงถูกขับออกทางปัสสาวะ ส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นไปอีก ในผู้ป่วยบางรายอาจมีโปรตีนรั่วร่วมด้วย สังเกตได้จากปัสสาวะมีฟองมากขึ้น หากทิ้งระยะนี้ไว้โดยไม่ได้รักษาจะทำให้การกรองของไตค่อย ๆ ลดประสิทธิภาพลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ไตเสื่อมในที่สุดนั่นเอง

  • มีเพียงแต่คนแก่เท่านั้น ที่เสี่ยงจะเป็น โรคเบาหวาน

          เป็น ความเชื่อที่ผิด เอามากๆ ที่คนส่วนใหญ่นั้นไม่ระวังตัวเอง จนทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น เพราะคนทุกเพศทุกวัย ก็สามารถป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ทั้งหมด โดยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะสามารถพบได้ตั้งแต่เด็กอายุน้อย เป็นเบาหวานที่เกิดจากความผิดปกติของ ตับอ่อน ไม่สามารถผลิต อินซูลิน ได้ อินซูลิน นั้นจะทำหน้าที่เป็นสารหลักที่ดึงเอาน้ำตาลไปใช้ในร่างกาย ดังนั้น เมื่อไม่สามารถสร้าง อินซูลิน ได้ ก็จะทำให้เกิดน้ำตาลค้างสะสมในกระแสเลือดจนกลายเป็น เบาหวาน ในที่สุด

 สรุปก็คือ เบาหวานเป็นโรคที่พบได้ในคนทุกวัย และมีแนวโน้มพบในคนอายุน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่รับประทานอาหารจำพวก แป้ง และ น้ำตาลมากขึ้น และขาดการออกกำลังกาย ทำให้เกิดน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้นจนกลายเป็นเบาหวานไปในที่สุด

  • คนผอม ไม่อ้วน ปลอดภัย ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นเบาหวาน

จริงอยู่ที่ว่าคนอ้วนลงพุงนั้น มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนปกติทั่วไป 60% เพราะภาวะอ้วนจะทำให้ร่างกายดื้อ อินซูลิน เกิดน้ำตาลสะสมเกิดขึ้นในเลือด จนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด แต่ทั้งนี้ก็ ไม่ได้หมายความว่าคนที่ผอมนั้น จะเป็นโรคเบาหวานไม่ได้ เพราะหากเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนที่ผลิต อินซูลิน ไม่ได้ ต่อให้ไม่อ้วนก็เป็นเบาหวานได้เช่นกัน

SongKhao-โรคเบาหวาน-ประกอบ3

วิธีคุมเบาหวาน ด้วยการเลือกทาน

          ผู้ป่วยเบาหวาน หลายคนมักจะละเลยเรื่อง ควบคุมอาหาร เพราะคิดว่าเดี๋ยวกินยาก็หายแล้ว ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมาก เพราะ เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากหวังพึ่งยา       แต่ไม่ ควบคุมอาหาร อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้จัก ควบคุมอาหาร เพื่อ  ควบคุมระดับน้ำตาล ของตนเองให้คงที่ โดยวิธีคุมเบาหวาน และวิธีลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำได้ไม่ยากด้วยการ เลือกที่จะ ควบคุมทาน อาหารเพื่อสุขภาพ นั่นเอง

อาหารผู้ป่วยเบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ประเภท      

1. อาหารที่ควรเลี่ยง

          น้ำตาลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย น้ำตาลอ้อย น้ำตาลก้อน น้ำตาลตะโหนด หรือแม้แต่น้ำผึ้งเอง รวมถึงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมทุกอย่าง เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก รวมไปถึงขนมหวานต่าง ๆ เช่น ขนมหวาน รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทนม นมข้นหวาน นมเปรี้ยว นมปรุงแต่งรสหวาน โยเกิร์ตปรุงแต่งรสหวานผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้เชื่อมหวาน ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน กล้วยตากแห้ง พุทราเชื่อม รวมไปถึงผลไม้เชื่อมบรรจุในกระป๋องอาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น แกงกะทิ หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว ไขมันสัตว์ เนย ครีม ไขมันนม เป็นต้น

          อาหารจำพวกเหล่านี้ล้วนแต่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะทำให้ ระดับน้ำตาล สูงขึ้นอย่างรวดเร็วอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนั้น การ ควบคุมอาหาร นั้นเป็นทางออกที่ดีที่สุด

2. อาหารที่ทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ

          อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ อาหารเหล่านี้จะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญของร่างกาย จึงไม่ควรอดอาหาร ทานมื้อเดียว หรือสองมื้อ หรือจำกัดมากเกินไป ควรทานให้เหมาะสมและพอดี หากว่าจำกัดมากเกินไป อาจส่งผลให้ ระดับน้ำตาล ต่ำ และทำให้ควบคุม ระดับน้ำตาล ในเลือดไม่ได้ รวมถึง ผลไม้ เนื่องจากผลไม้แต่ละชนิด นั้นมีปริมาณของคาร์โบไฮเดรตต่างกัน และคาร์โบไฮเดรตในผลไม้มักมาในรูปแบบน้ำตาล บางชนิดมีน้ำตาลมาก บางชนิดมีน้ำตาลน้อย  ผลไม้ที่มีรสหวาน เมื่อทานไปจะส่งผลให้ ระดับน้ำตาล ในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลี่ยงทานผลไม้ที่มีรสหวานจัด แอปเปิ้ล มีเส้นใย Pectin สูง ควบคุมอาหาร ช่วยดักจับไขมัน ลด ระดับน้ำตาล และไขมันในลือด ลดความเสี่ยงที่ ระดับน้ำตาล จะพุ่งสูง ปริมาณที่แนะนำ คือ 1 ลูกเล็ก หลังอาหาร

     –  ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่มีรสหวานน้อยมาก แคลอรีต่ำแถมมีเส้นใยสูง ปริมาณที่แนะนำ คือ 1 ผลเล็ก หรือครึ่งผลใหญ่ หลังทานอาหาร ไม่ควรทานกับ พริกเกลือ น้ำตาล

     – กล้วย เป็นผลไม้ที่ช่วยให้การดูดซึม น้ำตาล เป็นไปอย่างช้า ๆ มีเส้นใยสูง ทำให้อิ่มนาน ทานเป็นอาหารมื้อว่างได้ ช่วยควบคุม ระดับน้ำตาล ในเลือด ปริมาณที่แนะนำ คือ ครึ่งผลต่อ 1 มื้อ หากเป็นกล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า สามารถทานได้ 1 ผล

     – ผลไม้ตระกูลเบอร์รี เช่น สตรอเบอร์รี ราสเบอรี่ เชอร์รี บลูเบอร์รี ที่อุดมไปด้วยวิตามินและ ไฟเบอร์รวมถึง มีสารต้านอนุมูลอิสระ และยังช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดได้อีกด้วย ปริมาณที่แนะนำ คือ มื้อละ 12 ผล

    – แก้วมังกร มีวิตามินและแร่ธาตุมากมายหลายชนิด แคลอรี่ต่ำและยังมีเส้นใยสูง มีสรรพคุณช่วยรักษาเบาหวานได้ ปริมาณที่แนะนำ คือ 10 ถึง 12 คำต่อมื้อ

3. อาหารที่ทานได้โดยไม่จำกัดปริมาณ

          จำพวก ผักใบเขียว เนื่องจากผักมีแคลอรี่ต่ำ มีใยอาหารสูง ทำให้ดูดซึมน้ำตาลได้ช้า และใยอาหารในผักนั้นยังช่วยดูดซับพลังงานจากน้ำตาลไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วจนเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถดึงพลังงานจากน้ำตาลไปใช้ได้อย่างพอดี ยกตัวอย่างเช่น

     –  ตำลึง ทีมผู้วิจัยจากคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ทำการค้นคว้าแล้วพบว่าตำลึงมีประสิทธิภาพในการลด ระดับน้ำตาล และระดับ อินซูลิน ในเลือดได้ดี

     – มะระขี้นก มีสาร เชอราติน มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน กระตุ้นในการหลั่ง อินซูลิน และยับยั้งการสร้างกลูโคสของร่างกาย

     – ฟักทอง ในงานวิจัยหนึ่งบอกว่าฟักทองมีน้ำตาล โพลีแซ็กคาไรด์ ที่อยู่ควบคู่กับโปรตีนภายใน มีฤทธิ์ช่วยลด ระดับน้ำตาลในเลือด ได้

     – ใบชะพลู ช่วยลด ระดับน้ำตาลในเลือด และลดระดับ อินซูลิน ได้

     – กะเพรา มีสารลด ระดับน้ำตาลในเลือดและลดลด อินซูลิน ยับยั้งการเกาะกันของเกร็ดเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด

SongKhao-โรคเบาหวาน-ประกอบ2

แนวทางการจัดตารางโภชนาการในเมนูอาหาร

           จัดให้มีความสมดุลทางโภชนาการ ร่วมกับพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน โดยเลือกวัตถุดิบจากแต่ละแหล่งมาประกอบเมนูอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานทั้ง 3 มื้อในหนึ่งวัน เพื่อความคุม ระดับน้ำตาลในเลือด ไม่ให้สูงและมีพลังงานเพียงพอ

1. คาร์โบไฮเดรต 18 กรัม โปรตีน 2 กรัม เช่น เผือก มัน ข้าวโพด หรือพืชผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ถั่วต่างๆ (ไม่รวมถั่วเหลือง)

2. คาร์โบไฮเดรต 20 กรัม ผลไม้ เช่น แก้วมังกร กล้วย แอปเปิ้ล

3. โปรตีน 9 กรัม ไขมัน 5 กรัม เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ หมู ปลา ไก่ หรือผลิตภัณฑ์จากนมถั่วเหลือง

4. คาร์โบไฮเดรต 6 กรัม โปรตีน 4 กรัม ไขมัน 5 กรัม นมและผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ

5. ไขมัน 9 กรัม ผลิตภัณฑ์จากไขมัน                                      

6. คาร์โบไฮเดรต 13 กรัม โปรตีน 5 กรัม ผัก เห็ด ผักกาดขาว หรือสาหร่าย

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ กับแนวทางในการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยเบาหวาน สามารถทำตามได้ง่ายมาก เพียงแค่จัดตาราง การบริโภชให้ดี อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ก็สามารถทำตามได้เลย รับรองว่าสุขภาพจะดีขึ้นอย่างแน่นอน รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Sikarin , Viphavadi

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *