‘ โรคมะเร็ง ’ ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด EP.2

SongKhao-โรคมะเร็ง-ปก EP.2

    สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน วันนี้ เราจะมาต่อกันในเรื่อง ‘ โรคมะเร็ง ’ ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด EP.2 กันค่ะ ก่อนอื่นเลย แอดมินขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจในบทความของแอดมินติดตามอ่านจน EP ที่ 2 เพื่อให้เป็นการไม่เสียเวลา เราไปต่อกันเลยค่ะ

กระบวนการ หรือ ขันตอนวินิจฉัยมะเร็ง

การวินิจฉัย โรคมะเร็ง มีหลายวิธี เช่น

  • การตรวจร่างกายด้วยตนเองหรือตรวจโดยแพทย์
  • การตรวจที่ห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ หรือเสมหะ
  • การตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยว่าจะเป็น เซลล์มะเร็ง ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
  • การตรวจทางรังสี ยกตัวอย่างเช่น การเอกซเรย์ทางคอมพิวเตอร์ การเอกซเรย์เฉพาะอวัยวะ และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษส่องกล้องโดยตรง เช่น การตรวจลำไส้ เล็ก ใหญ่ ทวารหนัก กระเพาะอาหารและลำคอ เป็นต้น

ระยะของ โรคมะเร็ง

     ระยะของ มะเร็ง คือตัวบอกความรุนแรงของโรค การลุกลามของ เซลล์มะเร็ง ใน กระแสเลือด ตรวจหา เนื้องอก ที่มีความเสี่ยงเป็น มะเร็ง รวมถึงการแพร่กระจาย จะสามารถช่วยบอกแนวทางการรักษาได้ และทำให้แพทย์สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

    โดยทั่วไป มะเร็ง แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ถึง 4 ซึ่งทั้ง 4 ระยะ อาจแบ่งย่อยเป็นชนิดๆ ได้อีกเป็นอีกเป็นชนิด เอ A , บี B , ซี C  เป็น 1 หรือ 2 เพื่อแพทย์จะได้ใช้ช่วยประเมินการรักษา ส่วนโรคระยะศูนย์ 0 ยังไม่จัดเป็นโรคอย่างแท้จริง เพราะ เซลล์มะเร็ง เพียงมีลักษณะเป็นมะเร็ง แต่ยังไม่มีการรุกราน (Invasive) เข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงผ่าน กระแสเลือด กระแสน้ำเหลือง เกิดเป็น เซลล์มะเร็ง

SongKhao-โรคมะเร็ง-ประกอบ2 EP.2

ระยะที่ 1 : ก้อน หรือแผลมะเร็งมีขนาดเล็ก ยังไม่ลุกลาม

ระยะที่ 2 : ก้อน หรือแผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามภายในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ

ระยะที่ 3 : ก้อน หรือเป็นแผลมะเร็งขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ  อวัยวะข้างเคียง และลุกลามเข้า กระแสน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ  อวัยวะที่เป็นโรค

ระยะที่ 4 : ก้อนแผลมะเร็งขนาดโตมาก  หรือลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ เซลล์มะเร็ง รวมไปถึง อวัยวะข้างเคียง จนทะลุ หรือเข้า กระแสน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบเป็นต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ หรือมีหลากหลายต่อม  หรือ แพร่กระจายเข้า กระแสเลือด หรือ หลอดน้ำเหลือง  กระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อ อวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต กระแสน้ำเหลือง ในต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และกระแสน้ำเหลือง ในต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า

การรักษา

          การตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกย่อมเป็นผลดีต่อการรักษาไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง ซึ่งวิธีการรักษามีดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัด การเอาก้อนหรือ เนื้องอก ที่เป็นมะเร็งออกไป
  • รังสีรักษา การให้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่า เซลล์มะเร็ง
  • เคมีบำบัด การให้ยาหรือสารเคมีเพื่อฆ่า เซลล์มะเร็ง
  • ฮอร์โมนบำบัด การใช้ฮอร์โมนเพื่อยุติการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • การรักษาแบบผสมผสาน การรักษาร่วมกันหลายวิธีดังกล่าวข้างต้น แต่จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค ของ เนื้องอก กระแสเลือด

     การรักษาโรคอาจเป็นวิธีใดวิธีเดียวหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

  • ระยะของโรค
  • ชนิดของ เซลล์มะเร็ง
  • เป็นมะเร็งของ เนื้องอก หรืออวัยวะใดๆ
  • ผ่าตัดได้หรือไม่ หลังผ่าตัดยังคงหลงเหลือ เนื้องอก หรือก้อนมะเร็งหรือไม่
  • ผลพยาธิวิทยาชิ้นเนื้อหลังผ่าตัดเป็นอย่างไร
  • อายุ
  • สุขภาพผู้ของป่วย

ทางเลือกอื่น (Alternatives)

          เนื่องจาก โรคนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่มะเร็งบางตำแหน่งสามารถทราบสาเหตุนำหรือสาเหตุร่วมสาเหตุจาก เซลล์มะเร็ง กระแสเลือด ซึ่งอาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นทุกคนควรจะต้องตรวจ สำรวจร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้ามีอาการพบเจออาการผิดปกติก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

SongKhao-โรคมะเร็ง-ประกอบ1 EP.2

การตรวจคัดกรอง

          การตรวจคัดกรอง คือการตรวจให้พบโรคตั้งแต่ระยะยังไม่มีอาการ มักจะเป็นมะเร็งในระยะ 0 หรือระยะ 1 ทั้งนี้เพราะ โรคมะเร็ง ในระยะนี้มีโอกาสรักษาได้หายสูงกว่า โรคมะเร็ง ในระยะอื่น ๆ การตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ คือการตรวจที่เมื่อพบโรคแล้ว ภายหลังการรักษาผู้ป่วยจะมีอัตรารอดจากมะเร็งสูงขึ้นหรือมีอัตราเสียชีวิตจากลดลงนั่นเอง ปัจจุบันการตรวจคัดกรองโรคที่มีประสิทธิภาพ คือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

การป้องกันมะเร็ง

          วิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุด คือหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ ซึ่งที่สำคัญ คือ

  • กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวันในปริมาณที่เหมาะสม คือไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป โดยจำกัดเนื้อสัตว์ แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ แต่เพิ่มผัก ผลไม้ให้มาก ๆ
  • ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ให้เหมาะสมกับสุขภาพสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเสมอๆ การตรวจสุขภาพประจำปี
  • หลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง

สัญญาณอันตราย 7 ประการ

     สัญญาณอันตราย 7 ประการที่ควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่

  • มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย หรือ มีตกขาวมากเกินไป
  • มีก้อนหรือตุ่มเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนเนื้อนั้นโตเร็วผิดปกติ
  • มีแผลเรื้อรังนานๆ
  • มีการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม
  • เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
  • กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่น โตผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Haarmor , KhonKaenram

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *