โรคพยาธิเม็ดเลือด ( Canine blood parasites ) ภัยร้ายใกล้ตัว อันตรายกว่าที่คิด

Songkhao-โรคพยาธิเม็ดเลือด-ปก

        สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้ง กับบทความ สัตว์เลี้ยง ที่ลอยคอ รอคอย! แน่นอนว่า วันนี้เรามีบทความที่กล่าวถึง สัตว์เลี้ยง ที่น่าสนใจอีกเช่นเคย นั่นก็คือ โรคพยาธิเม็ดเลือด ( Canine blood parasites )  ใน สุนัข นั่นเองค่ะ เพราะเป็นโรคร้าย ที่สามารถพบได้ง่าย และสามารถคร่าชีวิต สัตว์เลี้ยง ของเราอย่างต่อเนื่อง แอดมิน จึงเห็นว่า เป็นภัยใกล้ตัว เจ้าของหลายคน ที่อาจจะมองข้ามไป ดังนั้น บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ โรคพยาธิเม็ดเลือด สาเหตการเกิดโรค วิธีการรักษา และวิธีการป้องกันนั่นเอง เพื่อให้ สัตว์เลี้ยง ของเรา มีสุขภาพดี และมีอายุที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับ โรคพยาธิเม็ดเลือด

        โรคพยาธิเม็ดเลือด ( Canine blood parasites ) คือ โรคร้ายที่เกิดจากการติดเชื้อ พยาธิเม็ดเลือด ในเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว หรือเกร็ดเลือดของ สัตว์เลี้ยง ซึ่งมี เห็บและหมัด เป็นตัว ปรสิต นำเชื้อ หรือเป็นพาหะนำโรคนั่นเอง โดยเชื้อ พยาธิเม็ดเลือด ซึ่งเป็น ปรสิต จะเข้าไปทำลาย เซลล์เม็ดเลือด ของ สุนัขและแมว ทำให้ สัตว์เลี้ยงป่วย และมีการแสดงอาการออกมา ในระยะที่รุนแรง ถือเป็นโรค vector-borne diseases นั่นคือ โรคที่เกิดจากพาหะนำเชื้อ เช่น เห็นและหมัด ( tick and flea ) โดยมีเห็บแข็งสีน้ำตาล ชนิด Rhipicephalus sanguineus เป็นพาหะนำเชื้อ ปรสิต ที่สำคัญ  หากรักษาทันท่วงที ก็สามารถรักษาให้หายได้ แต่หากมาช้าเกินกว่าที่จะรักษาได้ อาจทำให้เกิดการสูญเสียได้ในที่สุด

         โรคพยาธิเม็ดเลือด นั้น มีความน่ากลัวอยู่ตรงที่ว่า กว่าจะรู้ตัวว่า สัตว์เลี้ยง ทั้ง สุนัขและแมว ของเราป่วย ก็มีอาการโรคที่รุนแรงไปแล้ว เพราะเป็นโรคใน สุนัขและแมว ที่ซ่อนเงียบ รู้ตัวอีกที ก็เป็นหนักขั้น Coma แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุดคือ การสังเกต และการป้องกัน ปรสิต ที่เป็นพาหะนำโรค ที่มีประสิทธิภาพ

Songkhao-โรคพยาธิเม็ดเลือด-brown tick

สาเหตุ ของการเกิดโรค

        สาเหตุของการเกิดโรคมาจาก พยาธิเม็ดเลือด ที่เป็น ปรสิต ขนาดเล็ก ที่เข้าไปใน เซลล์เม็ดเลือด ที่จัดอยู่ใน กลุ่มโปรโตซัว ( Protozoa ) และ กลุ่มริกเกตเซีย ( Rickettsia ) ซึ่งประเทศไทยสามารถพบ โรคพยาธิเม็ดเลือด ได้บ่อย เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มี สภาพอากาศแบบร้อนชื้น จึงเหมาะแก่การเติบโตของเชื้อ ปรสิต ได้เป็นอย่างดี โดย ปรสิต ที่นำเชื้อ พยาธิเม็ดเลือด นั้น มีอยู่หลายสปีชีส์ ( Species ) ด้วยกัน เช่น Ehrlichia canis , Babesia sp. , Mycoplasma sp. , Hepatozoon sp. ซึ่งแต่ละชนิดมี เซลล์เม็ดเลือด เป้าหมายที่ต่างกัน ปรสิต จะเข้าไปดูดเลือดของ สัตว์เลี้ยง ที่มีเชื้อ พยาธิเม็ดเลือด และรับตัวอ่อนมาอยู่ในตัว ปรสิต และสามารถแพร่เชื้อได้ โดยการถ่ายทอดเชื้อ จากการดูดเลือดของ สัตว์เลี้ยง อีกตัว เมื่อ พยาธิเม็ดเลือด เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเกิดการแบ่งตัว เพื่อการเจริญเติบโต และทำลาย เซลล์เม็ดเลือด จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคพยาธิเม็ดเลือด

        เชื้อ พยาธิเม็ดเลือด ที่พบใน ปรสิต สามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่มริคเก็ตเซีย ( Rickettsia infections )

         ซึ่งส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ จะเป็นเชื้อ E.canis , E.Chaffeensis, E.ewingii และ Anaplasma spp. ซึ่งสามารถพบได้บ่อย

  • กลุ่มเชื้อ Babesia sp.

         กลุ่ม Babesia sp. สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้ ดังนี้ กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 3 – 7 μm และกลุ่มที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 – 3 μm สามารถพบได้ใน เซลล์เม็ดเลือด แดง ส่วนใหญ่ ในประเทสไทยจะพบ ชนิด B.canis , B.gibsoni  , B.canis vogeli 

  • กลุ่มเชื้อ Hepatozoon sp.

        กลุ่มเชื้อ Hepatozoon sp. ส่วนใหญ่ใน สุนัขและ แมว จะพบชนิด H.canis , H.americanum ที่ถือว่ามีความใกล้เคียงกับ ชนิด Babesia sp. พยาธิเม็ดเลือด ชนิดนี้ จะมีลักษณะรูปร่างคล้าย ๆ แคปซูล ( Capsule ) อาศัยอยู่ใน เซลล์เม็ดเลือด ขาวนิวโทรฟิว ( neutrophil ) และโมโนไซต์ ( monocyte )

  • กลุ่มเชื้อ Bartonella spp.

        กลุ่มเชื้อ Bartonella spp. ในสุนัขสามารถพบได้หลายชนิด อย่าง Bartonella vinsonii , Berkhoffi , Bartonella henselae และในแมว พบเพียงชนิด Bartonella henselae 

Songkhao-โรคพยาธิเม็ดเลือด-ประกอบ2

อาการของ สัตว์เลี้ยง ที่ป่วยเป็น โรคพยาธิเม็ดเลือด

       สัตว์เลี้ยงบางตัว อาจไม่มีการแสดงอาการ จึงยากที่จะสังเกตได้ อาการที่เด่นชัดของ โรคพยาธิเม็ดเลือด ก็คือ มีภาวะซีด จากการถูกทำร้าย เซลล์เม็ดเลือด ของ พยาธิเม็ดเลือด จนทำให้เกิด ภาวะโลหิตจาง และมีเม็ดเลือดขาว ชนิดอีโอซิโนฟิว ( Eosinophil ) และชนิดนิวโทรฟิว ( neutrophil )ในระดับที่สูงกว่าปกติ สามารถดูได้จากสีของเยื่อเมือก บริเวณต่าง ๆ เช่น สีเหงือก สีของเยื่อบุตา สีของอวัยวะเพศ เป็นต้น และมีอาการซึม ไม่ทานอาหาร ไม่ร่าเริง น้ำหนักลด อาเจียน และหากสัตว์เลี้ยงป่วยเป็นโรค Ehrlichiosis ( จากการติดเชื้อของกลุ่ม Ehrlichia sp. ) นั้น จะพบเลือดกำเดาไหล และมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนังด้วย ซึ่งถือว่า เป็นกลุ่มที่น่ากลัว และอันตรายมากที่สุด จากทุกกลุ่ม หากมีการติดเชื้อในกลุ้มนี้แบบเรื้อรัง ทำให้มีเกิดการทำลาย ไขกระดูกของสัตว์เลี้ยงเราอีกด้วย

        การทำลาย เซลล์เม็ดเลือด ขาวทั้งชนิด mononuclear cell ได้แก่ โมโนไซต์ ( monocyte ) และ  ลิมโฟไซต์ ( lymphocyte ) ส่งผลให้เกิดภาวะกดภูมิคุ้มกัน ( Immunosuppression ) จนทำให้เกิดการติดเชื้อ ของโรคอื่นเพิ่มด้วย ง่ายต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ได้มากยิ่งขึ้น เช่น ตับวาย ไตวาย ภาะวกระดูก  ( Bone marrow )ไม่สามารสร้าง เซลล์เม็ดเลือด ได้ หากมีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

การวินิจฉัย

        การวินิจฉัย โรคพยาธิเม็ดเลือด สัตวแพทย์จำเป็นต้องได้รับข้อมูลหลาย ๆ อย่างประกอบกัน เริ่มตั้งแต่ ประวัติของ สัตว์เลี้ยง ที่ได้จากเจ้าของ อาการที่เจ้าของพบ รวมไปถึง ผลการตรวจวินิจฉัย ทางห้องปฏิบัติการด้วย เบื้องต้น สัตวแพทย์ จะทำการเจาะเลือด เพื่อเก็บตัวอย่างเลือด และนำไปตรวจหาเชื้อ พยาธิเม็ดเลือด เพื่อดูค่าโดยรวมของเลือด ( Complete blood count : CBC ) , ค่าเอนไซม์ในตับ ( Liver enzyme ) ,ค่าของเสียในเลือด ( Blood urea nitrogen : BUN ) และค่าความสามารถ ในการกรองของเสียของไข ( Blood creatinine ) และรวมไปถึงการตรวจเลือดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ หรือการทำ Blood smear ร่วมด้วย เพื่อดูลักษณะของ เซลล์เม็ดเลือด และในสัตว์ตัวที่มีอาการรุนแรง ต้องมีการตรวจ ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มด้วย เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิ และทันท่วงที

Songkhao-โรคพยาธิเม็ดเลือด-ประกอบ1

การรักษา

        การรักษา โรคพยาธิเม็ดเลือด นั้นมียารักษาที่เฉพาะเจาะจง ตามชนิดของเชื้อพยาธิเม็ดเลือด ซึ่งมีทั้งยากิน ที่เจ้าของสามารถป้อนยา ให้กินได้เองที่บ้าน แต่ต้องตามขนาด ที่สัตวแพทย์แนะนำ และตาคำสั่งของสัตวแพทย์เท่านั้น เพราะปริมาณยา ส่งผลต่อเลือด และประสิทธิภาพ การฆ่าเชื้อพยาธิเม็ดเลือด และมียาชนิดแบบฉีด ซึ่งในแต่ละชนิดนั้น มีผลข้างเคียง ( Side effect ) ที่แตกต่างกันไป

         สัตว์ที่ป่วยและมี ภาวะโลหิตจาง อย่างรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด ( Blood transfusion ) จากสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถเป็นผู้บริจาคเลือดได้ ( Blood donor ) และยังต้องมีการตรวจความเข้ากันของเลือดจาก ผู้บริจาคและผู้รับเลือด ( Blood recipient ) ด้วยเช่นกัน  

การป้องกัน

         โรคพยาธิเม็ดเลือด เป็นโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ ( Tick borne diseases ) แน่นอนว่า การป้องกันหลัก ๆ ต้องจำกัด และป้องกันปรสิตที่เหมาะสม และเป็นประจำ ซึ่งในปัจจุบัน ในท้องตลาดมี ผลิตภัณฑ์การกำจัดเห็บหมัด ที่หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบกินทุก 3 เดือน แบบหยุดหลังคอทุก 3 เดือน และแบบปปอกคอ ซึ่งแต่ละแบบ ก็มีรูปแบบการออกฤทธิ์ และตัวยาที่แตกต่างกัน ดังนั้น ควรปรึกษากับสัตวแพทย์ร่วมด้วย

        และสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ สภาพแวดล้อม และความสะอาดของสถานที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นการตัดวงจรเห็บและหมัดให้หมดไป เพราะเห็บและหมัด เมื่อดูดเลือดเสร็จแล้ว ก็จะมีการวางไข่ตามซอกหลืบ ตามรอบต่อของกระเบื้อง หรือมุมห้องที่มีความชื้น เมื่อถึงวัยเจริญเติบโต ก็จะออกมาดูดลิอดสัตว์ได้อีก วนเป็นวัฏจักรแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น เจ้าของสามารถ ตัดวงจรตรงนี้ได้ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ถูพื้น ผลิตภัณฑ์ฉีกพ่น และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้าง แอดมิน Songkhao หวังว่าบทความนี้ จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อย และอยากเป็นส่วนหนึ่ง ของการมอบความรู้ ความเข้าใจ ของสิ่งที่สำคัญ ของการเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เพื่อให้สัตว์เลี้ยงที่รักของคุณ ไม่ว่าจะ สุนัข หรือแมว มีสุขภาพที่ดี และอยู่กับเราไปนาน ๆ สำหรับสัปดาห์หน้านั้น จะเป็นบทความอะไร ติดตามอ่านได้เร็ว ๆ นี้ สวัสดีค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก : Faculty Of Veterinary Science Of PSU , baanlaesuan

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *