มะเร็งลำไส้ ภัยร้ายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ส่องข่าว - มะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) เป็นโรคมะเร็ง ที่มีมากที่สุด เป็นอับดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกา และในปี 2016 มีค่าเฉลี่ยพบว่า มีคนที่เป็น มะเร็งลำไส้ ใหญ่ 95,270 ราย/ปี และลำไส้ ตรง 39,220 ราย/ปี และในระยะเวลา ปีเดียวกัน พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง  49,190 ราย จากโรคมะเร็ง

         สำหรับประเทศไทยนั้น มะเร็งใลำไส้ มีประวัติการเกิด มะเร็งลำไส้ มากเป็นลำดับที่ 4 เช่นกัน หรือมีผู้ป่วยเพิ่ม เฉลี่ย 11,496 คนต่อปี พบการเสียชีวิต 6,845 คนต่อปี รองจาก มะเร็งตับ ปอด และเต้านม ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเสียชีวิต จากโรค มะเร็งในลำไส้ กลับลดลง เมื้อมีเทคโนโลยีเข้ามา มีส่วยช่วยในการ คัดกรองตรวจ และป้องกันการเกิด ด้วยการตัดติ่งเนื้อ (Polypectomy) ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ดังนั้น การรับรู้ถึง จุดกำเนิดโรค และปัจจัยความเสี่ยง นั้นจึงเป็นประโยชน์ ในการคัดกรอง ป้องกัน และการรักษาได้

มะเร็ง คืออะไร

มะเร็ง ก็คือ เซลล์ในร่างกาย ที่มีการเจริญเติบโต ผิดปกติ จนกลายมาเป็น ก้อนชิ้นเนื้อร้าย ที่อาจลุกลาม ทำอันตรายต่อชีวิต ทั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ของการเกิดมะเร็งนั้น มาจาก “ปัจจัยแวดล้อม” อาทิ สารเคมี ควันบุหรี่ การติดเชื้อไวรัส การไม่ดูแลสุขภาพ หรือพฤติกรรมการ รับประทานอาหาร ที่ไม่เหมาะสม และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นไปได้ถึง 90 % และมีเพียงแค่ 10% เท่านั้น ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงทำให้ทุกคน สามารถเป็นโรคมะเร็งได้  ทั้งนี้ ปัจจุบันโรคมะเร็งคือ สาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตหลาย ๆ คนไป นั่นจึงทำให้ การดูแลสุขภพร่างกาย ตัวเองให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานสิ่งที่มีประโยชน์  และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจคัดกรอง มะเร็งในร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญ ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพื่อให้ตัวคุณเอง ห่างไกลและป้องกัน การเกิดลุกลาม ตั้งแต่เนิ่น ๆ

อาการของ มะเร็งลำไส้

  • ท้องอืด ท้องผูก หรือมีอาการท้องเสีย สลับกับท้องผูก

บางคนคุ้นชิน หรือมีอาการท้องผูก มาตั้งแต่เด็ก ๆ  อาจเป็นเพราะ พฤติกรรมการกิน ที่ไม่กินผักผลไม้ ร่างกายขาดไฟเบอร์ ในปริมาณที่เหาะสม และดื่มน้ำน้อย ทำให้ระบบขับถ่าย ทำงานไม่ดี แต่ในบางคน มีอาการท้องผูก เพราะ พฤติกรรมการ ใช้ชีวิตในวัยทำงาน และปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรัง จนมองว่าท้องผูก เป็นเรื่องปกติไปแล้ว พฤติกรรมนี้ล่ะ คือสัญญาณหนึ่ง ที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อ โรคมะเร็งในลำไส้ ในอนาคต

  • มีเลือดหรือมูกเลือด ปนมากับอุจจาระ

อาจเกิดจากอุจจาระ ที่แข็งเมื่อเบียดกับติ่งเนื้อ ที่เกิดขึ้นในล้ำไส้ เกิดเป็นแผลทำให้มีเลือดออก และปนออกมาในบางครั้งที่ขับถ่าย   

  • อุจจาระมีขนาดเล็ก หรือเบาลง

เนื่องจาก มะเร็งนั้น เริ่มจากการมี ติ่งเนื้อขึ้นมาในลำไส้ ซึ่งอาจจะเป็น ติ่งเนื้อธรรมดา ไม่ใช่เนื้อร้าย แล้วจึงจะกลายมาเป็น ติ่งเนื้อร้าย การที่มีติ่งเนื้อ เกิดขึ้นขวางภายในลำไส้นี้ จึงทำให้อุจจาระ ที่เคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ มีถูกบีบอัด ให้มีลักษณะเล็กลง ดังนั้นหากสังเกตได้ว่า อุจจาระมีลักษณะเล็กลีบ เป็นประจำ หรือผิดแปลกไปจากปกติ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า คุณมีก้อนเนื้อ หรือติ่งเนื้อขึ้นในลำไส้

  • ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลง โดยไม่มีสาเหตุ

อาจเกิดจากการ ที่มีเลือดออกในลำไส้ ปนออกมากับอุจจาระ หากเสียเลือด จากการขับถ่าย มากอาจมีภาวะซีด และโลหิตจางร่วมด้วย และยิ่งทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอ่อนแรง อย่างต่อเนื่องมากขึ้นอีก ถึงแม้โรค มะเร็งในลำไส้ จะเป็นมะเร็งร้าย ที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับสาม ในปัจจุบันนี้ แต่หากเราระวังในพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต และหมั่นสังเกต ตัวเองได้ทันการ จะได้รีบทำการรักษาได้ทันท่วงที โอกาสรอดชีวิตก็ยิ่งสูงขึ้น

  • น้ำหนักตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง

น้ำหนักตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะทานปกติ หรือทานมากขึ้น

ระยะของการเกิด มะเร็งลำไส้

มะเร็งใลำไส้ใหญ่แบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่

  • ระยะที่ 1 โรคมะเร็งยังอยู่ใน เยื่อบุลำไส้
  • ระยะที่ 2 โรคมะเร็งทะลุเข้ามา ในชั้นกล้ามเนื้อ ของลำไส้ และหรือทะลุถึงเยื่อหุ้มลำไส้ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียง แต่ไม่มีการแพร่กระจาย ไปที่ต่อมน้ำเหลือง
  • ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้า ต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง แต่ยังไม่ลุกลาม ไปอวัยวะอื่น
  • ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ไกลออกไป หรือลุกลามไปยังอวัยวะ ที่อยู่ไกลออกไป เช่น ตับ ปอด เป็นต้น

แนวทางป้องกัน มะเร็งลำไส้

ควรหมั่นรับประทาน ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งปราศจากการขัดสี ให้มากขึ้น  ลดการบริโภค เนื้อแดงและอาหารแปรรูป อย่างเช่นไส้กรอก แฮม เบคอน เป็นต้น ทั้งนี้ควรออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และที่สำคัญ ควรตรวจสุขภาพประจำปี และคัดกรองเชื่อมะเร็ง จะได้ป้องกันแต่เนิ่น ๆ

1.รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งปราศจากการขัดสี ให้มากขึ้น

2.ลดการบริโภคเนื้อแดง และอาหารแปรรูป เป็นต้น

3.ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

4.งดดื่มแอลกอฮอล์

5.งดสูบบุหรี่

สำหรับผู้ที่มีอายุ 45 – 50 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง มะเร็งใลำไส้ เพื่อตรวจหาความเสี่ยง การเกิดโรค มะเร็งลำไส้ ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ หรือ ตรวจหา มะเร็งใลำไส้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่มีโอกาสเป็นสูง เพราะ การตรวจคัดกรอง มะเร็งใลำไส้ ด้วยวิธีการส่องกล้อง Colonoscopy จะช่วยให้สามารถ ตรวจพบเจอ มะเร็งใลำไส้ ได้ในระยะแรกเริ่ม และ สมาคมโรคมะเร็ง แห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำควรเริ่มตรวจคัดกรอง มะเร็งลำไส้ ใหญ่ในอายุ 45 ปีขึ้นไป เพราะมีความเสี่ยงมากกว่า

การ

ความเสี่ยงจากพันธุกรรม

รู้หรือไม่ว่า มะเร็งลำไส้ นั้นสามารถถ่ายทอด ได้ถ้าหากมีประวัติ ครอบครัวที่เป็นมะเร็ง ท่านมีความเสี่ยง มากกว่าคนทั่วไป โดยที่ไม่จำเป็น ต้องอายุมาก หรือมีอาการผิดปกติ หลายคนที่มีพันธุกรรม คนในครอบครัวผิดปกติ สามารถเกิดโรคได้ ตั้งแต่วัยรุ่น ซึ่งถ้าท่านทราบว่า ตนมีความเสี่ยง และได้รับการวินิจฉัย ทางพันธุกรรม ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ที่ยังไม่มีอาการ มะเร็งใลำไส้ จะสามารถรักษา ให้หายขาดได้ ก่อนจะลุกลาม ไปทั่วร่างกาย

ความเสี่ยงที่ควรพบแพทย์ทันที

1.ญาติสายเลือดเดียวกัน ได้แก่ บิดา มารดา พี่ น้อง มีประวัติหรือเป็น มะเร็งลำไส้ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 45 ปี แม้เพียง 1 คน

2. ญาติสายตรงเป็น มะเร็งใลำไส้

3. สมาชิกในครอบครัวอื่น ๆ รวมทั้งปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อาป่วยเป็นโรคมะเร็งใลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ไม่ว่าอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม

4. สมาชิกในครอบครัวป่วย เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ร่วมกับมะเร็งอื่น ๆ เช่น มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งใลำไส้เล็ก มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ มะเร็งสมอง มะเร็งรังไข่ มะเร็งต่อมธัยรอยด์ เป็นจำนวนหลายคน

หากคุณมีประวัติ ครอบครัวที่กล่าวมาข้างต้น และไม่แน่ใจในความเสี่ยง ของตนเอง การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยคุณได้ โดยแพทย์จะทำการ ซักประวัติครอบครัว โดยละเอียด และทำการประเมินความเสี่ยง ว่ามีความเสี่ยง มากหรือน้อยเพียงใด หลังจากนั้นแพทย์จะ ให้คำปรึกษา แนะนำทางพันธุกรรม ถึงความเสี่ยง และประเมิน บุคคลอื่นในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น พี่น้องพ่อแม่ เป็นต้น และขั้นตอนต่อไป แพทย์จะทำการ ประเมินวิธีการตรวจ ไม่ว่าจะเป็นตรวจส่องกล้อง หรือตรวจเลือด เป็นต้น

 ลำดับการรักษา

1.การผ่าตัด การรักษาหลัก ของมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ การผ่าตัด เอาลำไส้ ตรงจุดที่เป็น และต่อมน้ำเหลืองออกไป ในบางครั้ง ถ้าเป็นมะเร็งที่ลุกลามมาก หรือมะเร็งของลำไส้ใหญ่ ส่วนปลายที่อยู่ติด กับทวารหนัก การผ่าตัด จึงต้องทำทวารเทียม เอาปลายลำไส้ส่วนที่เหลืออยู่ เปิดออกทางหน้าท้อง เป็นทางให้อุจจาระออก

 2.รังสีรักษา เป็นการรักษาร่วมกับ การผ่าตัด อาจฉายรังสีก่อน หรือหลังการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ ทางการแพทย์เป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะประเมิน จากลักษณะการลุกลามของ ก้อนมะเร็งและ โอกาสการแพร่กระจาย ไปต่อมน้ำเหลือง

โดยทั่วไป การฉายรังสีรักษามักใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ โดยฉายวันละ 1 ครั้ง ฉายติดต่อกัน 5 วันใน 1 สัปดาห์หรือหยุดตามวันราชการ และวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น

 3.เคมีบำบัด คือการให้ยาสารเคมี ซึ่งอาจให้ก่อนการผ่าตัด และ/หรือหลังผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา หรือไม่ก็ได้ การใช้เคมีบำบัดก็จะขึ้นกับ ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ ในผู้ป่วยทุกราย แพทย์จะพิจารณา เป็นรายๆ ไป

ทั้งหมดนี้ คือเรื่องของมะเร็งใลำไส้ ที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะ เชื้อมะเร็งนั้นมี อยู่ในร่างกายของทุก ๆ คน ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลโรค และไม่ลุกลามไปมากกว่านี้ รู้ก่อนได้เปรียบกว่า หมั่นดูแลตัวเอง ตรวจสุขภาพ และเลือกรับประทานอาหาร ให้เหมาะสมและมีประโยชน์ เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีสุขภาพที่ดี และห่างไกลมะเร็งแล้วค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *